อาร์ซิโนเอที่ 3 ฟิโลพาเตอร์ (กรีกโบราณ : Ἀρσινόη ἡ Φιλοπάτωρ , Arsinóē hē Philopátо̄r , ซึ่งหมายความว่า "อาร์ซิโนเอผู้เป็นที่รักของบิดา", ประสูติเมื่อ 246 หรือ 245 ปีก่อนคริสตกาล - 204 ปีก่อนคริสตกาล) เป็นสมเด็จพระราชินีแห่งอียิปต์โบราณในช่วง 220 - 204 ปีก่อนคริสตกาล พระองค์เป็นพระราชธิดาของฟาโรห์ทอเลมีที่ 3 กับพระนางเบเรนิซที่ 2 [ 2] [ a] พระองค์เป็นดำรงตำแหน่งพระราชินีแห่งราชวงศ์ทอเลมี โดยทรงอภิเษกสมรสกับพระอนุชาของพระองค์ คือ ทอเลมีที่ 4 พระองค์และพระสวามีของพระองค์ทรงเป็นที่รักและนับถือโดยชาวอียิปต์[ 5]
พระชนม์ชีพ
ระหว่างปลายเดือนตุลาคมและต้นเดือนพฤศจิกายนใน 220 ปีก่อนคริสตกาล พระองค์ทรงได้อภิเษกสมรสกับทอเลมีที่ 4 ซึ่งเป็นพระน้องชายของพระองค์ พระองค์เข้ามามีส่วนร่วมในการปกครองของประเทศอย่างน้อยก็ในแง่ของการยอมรับจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงที่ทรงพลังอย่างซอซิบิอุส
ใน 217 ปีก่อนคริสตกาล พระองค์เดินทัพกับทอเลมีที่ 4 และกองทัพ 55,000 นายในยุทธการที่ราเฟีย ในปาเลสไตน์ ต่อพระเจ้าแอนทิโอคัสมหาราช ผู้มีทัพ 68,000 นาย[ 6] พระองค์ทรงเป็นหนึ่งในการสงบศึกในสงครามราเฟียที่ปาเลสไตน์ระหว่างทอเลมีที่ 4 กับพระเจ้าแอนติโอคัสมหาราช[ 7]
ในฤดูร้อนเมื่อ 204 ปีก่อนคริสต์ศักราช ทอเลมีที่ 4 พระองค์ทรงถูกลอบปลงพระชนม์ในพระราชวัง[ 8] ก่อนที่พระองค์จะได้ทราบเรื่องการสิ้นพระชนม์ของพระสวามีของพระองค์ ซึ่งจะช่วยป้องกันพระองค์จะขึ้นมามีอำนาจ
พระราชโอรสและธิดา
สิ่งสืบทอด
เอราโตสเทแนส เขียนเอกสารชื่อ Arsinoe ซึ่งมีเนื้อหาเป็นบันทึกความทรงจำของพระราชินีที่ปัจจุบันสูญหาย เอกสารนี้ได้รับการอ้างอิงจากนักวิชาการสมัยโบราณหลายคน[ 9]
ภาพเหมือนของพระองค์นั้นก็หายากเช่นกัน แต่ปรากฏในรูปแบบรูปปั้นครึ่งตัวที่ทำด้วยหินอ่อน[ 10] และในสัมฤทธิ์[ 11]
หมายเหตุ
↑ 1.0 1.1 อาร์ซิโนเอที่ 3 มีตำแหน่ง "ผู้ปกครอง" แต่ไม่ได้นับรวมในวันที่ตามพิธีสารดังกล่าวเป็นผู้ปกครองร่วมของพระสวามีของพระองค์ ทำให้สถานะของพระองค์ไม่ชัดเจน Tara Sewell-Lasater จัดอาร์ซิโนเอให้เป็นพระราชินี[ 3] อย่างไรก็ตาม Sally Ann Ashton จัดให้อาร์ซิโนเอเป็นฟาโรห์[ 4]
อ้างอิง
↑ Chrystal, Paul (2017-02-28). Women at War in the Classical World (ภาษาอังกฤษ). Grub Street Publishers. ISBN 978-1-4738-5661-5 . Arsinoe III was Queen of Egypt from 220–204 BCE,
↑ Dodson, Aidan, and Hilton, Dyan. The Complete Royal Families of Ancient Egypt . Thames & Hudson. 2004. ISBN 0-500-05128-3 .
↑ Sewell-Lasater, Tara (2020). "Becoming Kleopatra: Ptolemaic Royal Marriage, Incest, and the Path to Female Rule" . University of Houston : 205.
↑ Ashton, Sally-Ann (2014-09-19). The Last Queens of Egypt: Cleopatra's Royal House (ภาษาอังกฤษ). Routledge. pp. 112–113. ISBN 978-1-317-86873-6 .
↑ Tyldesley, Joyce (2006). Chronicle of the Queens of Egypt: From Early Dynastic Times to the Death of Cleopatra . London, UK: Thames & Huson Ltd. pp. 194 . ISBN 0500051453 .
↑ Pennington, Reina (2003). Amazons to Fighter Pilots: A Biographical Dictionary of Military Women . Westport, CT: Greenwood Press. p. 25. ISBN 0313327076 .
↑ Meyers, Carol; Craven, Tony; Kraemer, Ross S., บ.ก. (2000). Women in Scripture: A Dictionary of Named and Unnamed Women in the Hebrew Bible, the Apocryphal/Deuterocanonical Books, and the New Testament . New York: Houghton Mifflin. p. 397. ISBN 0-395-70936-9 .
↑ Bennett, Chris (14 Sep 2006). "Arsinoe III" . Ptolemaic Dynasty . Tyndalehouse. สืบค้นเมื่อ 18 Apr 2021 .
↑ Carney, Elizabeth Donnelly; Müller, Sabine, บ.ก. (2020). The Routledge companion to women and monarchy in the ancient Mediterranean world . Routledge. pp. 113–114. ISBN 978-0-429-43410-5 . OCLC 1154099146 .
↑ "Marble Bust of Arsinoe III" . egymonuments.gov.eg (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-06-03 .
↑ M.Daehner, Jens; KennethLapatin; AmbraSpinelli (2017-11-17). "Artistry in Bronze: The Greeks and Their Legacy (XIXth International Congress on Ancient Bronzes)" . Artistry in Bronze (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-06-03 .