รายชื่อโปเกมอน (1–51)แฟรนไชส์ โปเกมอน (ญี่ปุ่น: ポケモン) มีสายพันธุ์สิ่งมีชีวิตสมมุติที่เรียกว่าโปเกมอนทั้งหมด 1025 สายพันธุ์ (ตัวที่ 1025 คือ โมโมวาโร่ ) นี่คือรายชื่อโปเกมอน 51 สายพันธุ์ ที่พบในโปเกมอนภาคเรดและกรีน เรียงตามสมุดภาพโปเกมอนเนชัลแนลของซีรีส์เกมหลัก
สารบัญ
ฟุชิกิดาเนะ
ฟุชิกิดาเนะ (ญี่ปุ่น: フシギダネ; ทับศัพท์: Fushigidane) หรือ บัลบาซอร์ (อังกฤษ: Bulbasaur) โปเกมอนเมล็ด เป็นโปเกมอนสัตว์เลื้อยคลานและกบตัวเล็กอ้วนเตี้ย เดินด้วยขาสี่ขา มีร่างกายสีเขียวอมฟ้าและมีจุดสีเขียวอมน้ำเงินตามลำตัว เมื่อฟุชิกิดาเนะพัฒนาร่างเป็นฟุชิกิโซ และจากนั้นพัฒนาเป็นฟุชิกิบานะ ดอกตูมบนหลังจะบานเป็นดอกไม้ขนาดใหญ่ขึ้น[1] ในอนิเมะโปเกมอน ซาโตชิมีฟุชิกิดาเนะที่มีบุคลิกกล้าหาญแต่ดื้อรั้น ฟุชิกิดาเนะของเขาไม่ยอมพัฒนาร่างเป็นฟุชิกิโซ ฟุชิกิโซ
ฟุชิกิโซ (ญี่ปุ่น: フシギソウ; โรมาจิ: Fushigisō; ทับศัพท์: Fushigisou) หรือ ไอวีซอร์ (อังกฤษ: Ivysaur) โปเกมอนเมล็ด เป็นร่างพัฒนาของฟุชิกิดาเนะ หนึ่งในโปเกมอนเริ่มต้นให้ผู้เล่นเลือกในโปเกมอนภาคเรดและบลู และเกมฉบับทำใหม่ ร่างพัฒนาสุดท้ายคือฟุชิกิบานะ นอกจากฟุชิกิโซจะตัวสูงกว่าและหนักกว่าฟุชิกิดาเนะ ดอกตูมบนหลังได้หลายเป็นช่อดอกไม้สีชมพู และใบไม้สี่ใบรองเป็นฐาน ขาของมันจะอ้วนขึ้น เพื่อให้รองรับดอกตูมบนหลังได้ แต่กลับทำให้ยืนด้วยขาหลังไม่ได้[2] ตาของฟุชิกิโซดูก้าวร้าวขึ้นและดุดันขึ้น เช่นเดียวกับฟุชิกิดาเนะ ฟุชิกิโซและดอกตูมของมันมีลักษณะเป็นภาวะพึ่งพากัน กล่าวคือ การอาบแสงแดดจะทำให้ทั้งคู่เจริญเติบโต[3] ท้ายที่สุด ช่อดอกไม้จะส่งกลิ่นหอม เป็นสัญญาณว่าดอกไม้จะบานในอีกไม่ช้า และตัวฟุชิกิโซจะพัฒนาร่าง ฟุชิกิโซจะใช้เวลาอาบแสงแดดนานขึ้นเพื่อพัฒนาร่าง[4] ฟุชิกิบานะ
ฟุชิกิบานะ (ญี่ปุ่น: フシギバナ; ทับศัพท์: Fushigibana) หรือ เวนูซอร์ (อังกฤษ: Venusaur) เป็นโปเกมอนเมล็ด ร่างพัฒนาร่างสุดท้ายของฟุชิงิดาเนะ ในที่สุดเมล็ดก็บานเป็นดอกไม้ขนาดใหญ่ ดูคล้าย ๆ กับดอกรัฟเฟิลเซีย ดอกไม้จะดูดแสงแดดมาเป็นสารอาหารอยู่ตลอดเวลา มีสีสันสดใส และกลิ่นหอม และพลังที่จะมีมากในฤดูร้อน[5][6] ฟุชิกิบานะจะเคลื่อนไหวตลอดเวลาเพื่อดูดแสงแดดให้มากขึ้น แม้ว่าปกติมันจะอยู่นิ่ง ๆ เงียบ ๆ ขณะดูดแสง[7] หลังจากฝนตก กลิ่นหอมจะแรงขึ้นและดึงดูดโปเกมอนตัวอื่นได้[8]
ฮิโตคาเงะ
ฮิโตคาเงะ (ญี่ปุ่น: ヒトカゲ; ทับศัพท์: Hitokage) หรือ ชาร์แมนเดอร์ (อังกฤษ: Charmander) ปรากฏตัวครั้งแรกในเกมโปเกมอนภาคเรดและบลู และในภาคถัดมา ต่อมาปรากฏในสินค้าต่าง ๆ ในเกมภาคพิเศษ และการปรับประยุกต์ให้เป็นการ์ตูนและสิ่งพิมพ์ของแฟรนไชส์ ฮิโตคาเงะเป็นโปเกมอนกิ้งก่า มีลักษณะเหมือนกิ้งก่า มีขาสองขา ตัวเล็ก ส่วนมากมีตาสีฟ้า ผิวหนังสีแดงส้ม นิ้วเท้ามีเล็บแหลมสี่นิ้ว หน้าท้องสีเหลือง ฝ่าเท้าสีเหลือง ปลายหางเป็นเปลวไฟ และขนาดของเปลวไฟบ่งบองสุขภาพ[9] และอารมณ์ของแต่ละตัว[10] กล่าวกันว่า เมื่อฝนตก จะมีไอน้ำออกมาจากปลายหาง[11] ถ้าเปลวไฟดับ ฮิโตคาเงะจะตาย[12] เมื่อฮิโตคาเงะได้รับประสบการณ์มากพอ จะพัฒนาร่างเป็นลิซาร์โด และลิซาร์ดอน ในที่สุด ลิซาร์โดะ
ลิซาร์โดะ (ญี่ปุ่น: リザード; โรมาจิ: Rizādo) หรือ ชาร์เมเลียน (อังกฤษ: Charmeleon) เป็นร่างที่วิวัฒนาการแล้วของฮิโตคาเงะ และเป็นร่างก่อนวิวัฒนาการของลิซาร์ดอน รู้จักกันว่าเป็นโปเกมอนไฟ ซึ่งมีลักษณะเป็นกิ้งก่าสองเท้า ท้องและฝ่าเท้ามีสีเหลือง มือและเท้ามีอย่างละ 3 เล็บ และเปลวไฟอยู่ที่ปลายหาง ลิซาร์โดะมีสีผิวหนังเข้มกว่าฮิโตคาเงะ มีเขาสำหรับชนอยู่บนหัว และมีรูปลักษณ์ที่ดุดันขึ้น โดยธรรมชาติ ลิซาร์โดะจะดุร้ายและอารมณ์ร้อน เป็นนักสู้ที่มีพละกำลังมาก เปลวไฟที่หางอาจไหม้เป็นสีขาวอมฟ้าหากมันกำลังตื่นเต้น และเมื่อหางโบกสะบัด จะทำให้อุณหภูมิรอบ ๆ ขึ้นสูง ลิซาร์โดะปรากฏครั้งแรกในโปเกมอนภาคเรดและบลู ลิซาร์ดอน
ลิซาร์ดอน (ญี่ปุ่น: リザードン; โรมาจิ: Rizadon) หรือชื่อภาษาอังกฤษคือ ชาริซาร์ด (อังกฤษ: Charizard) เป็นร่างพัฒนาของลิซาร์โด ซึ่งพัฒนามาจากฮิโตะคาเงะอีกต่อหนึ่ง ขณะที่ร่างก่อนพัฒนาต่างก็เป็นสัตว์คล้ายกิ้งก่าบก ลิซาร์ดอนกลับดูคล้ายมังกรยุโรปชนิดหนึ่ง[13] แม้ว่าจะคล้ายมังกร แต่เห็นได้ชัดว่าลิซาร์ดอนเป็นโปเกมอนประเภทไฟและบิน ไม่ใช่ประเภทมังกร[14] ลิซาร์ดอนมีปีกสีฟ้าสองปีก ขณะที่หลังมีสีส้มเหมือนกับสีของลำตัว หน้าท้องและฝ่าเท้ามีสีครีม ขณะที่ตามีสีฟ้าอ่อน ในวิดีโอเกมบรรยายว่าลิซาร์ดอนมีปีกที่สามารถบินได้ถึงความสูง 4,600 ฟุต[15] บินโฉบทั่วฟ้าและคอยหาศัตรูที่เก่งกาจต่อสู้อยู่ตลอด[16] ลิซาร์ดอนสามารถหายใจออกมาเป็นเปลวไฟร้อนระอุที่สามารถหลอมละลายสสารใด ๆ ก็ได้ แต่จะไม่ทำให้ศัตรูที่อ่อนแอกว่าลุกไหม้[17] ถ้าลิซาร์ดอนโกรธ เปลวไฟที่ปลายหางจะลุกเป็นสีขาวอมฟ้า[18] และเนื่องจากเป็นโปเกมอนที่สะเพร่า ลิซาร์ดอนมักจะก่อให้เกิดไฟป่าอย่างไม่ตั้งใจ[19]
เซนิกาเมะ
เซนิกาเมะ (ญี่ปุ่น: ゼニガメ; ทับศัพท์: Zenigame) หรือชื่อภาษาอังกฤษคือ สเควิร์ตเทิล (อังกฤษ: Squirtle) เป็นโปเกมอนเต่าตัวเล็ก เซนิกาเมะเป็นเต่าหน้าตาน่ารัก สามารถเดินได้สองขาหรือทั้งสี่ขา ผิวหนังของเซนิกาเมะเป็นสีฟ้าอ่อน มีหางม้วนและยาว เมื่อถูกคุกคาม เซนิกาเมะจะหดแขนขาไว้ในกระดองสีน้ำตาลส้ม และพ่นน้ำจากปากด้วยพลังมหาศาล เพื่อโจมตีศัตรูหรือข่มขู่[20] ถ้าถูกโจมตี กระดองจะยืดหยุ่น และป้องกันตัวได้ดีเยี่ยม เซนิกาเมะจะหลบภัยในกระดอง และโจมตีกลับด้วยน้ำในทุก ๆ โอกาส[21] กระดองมีรูปร่างกลมและร่องบนผิวหนังช่วยลดแรงต้านทานในน้ำ ทำให้เซนิกาเมะว่ายน้ำได้ด้วยความเร็วสูง[22] คาเมล
คาเมล (ญี่ปุ่น: カメール; โรมาจิ: Kamēru; ทับศัพท์: Kameil) หรือในภาษาอังกฤษเรียกว่า วอร์เทอร์เทิล (อังกฤษ: Wartortle) เป็นโปเกมอนเต่า และเป็นร่างพัฒนาของเซนิกาเมะ มันมีลักษณะที่ดูน่ากลัวขึ้นเล็กน้อย นอกเหนือจากความสูงและน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นแล้ว มันยังมีสีที่คล้ำขึ้น มีนัยน์ตาที่เล็กลง และมีเขี้ยวเล็กๆอยู่ที่ปาก กระดองของมันอาจจะมีร่องรอยจากการต่อสู้ ซึ่งคาเมลมักเสาะหาอย่างเต็มใจ[23] คาเมลยังมีหูที่ดูเหมือนขนนกหนึ่งคู่ และหางมีสีขาว ปุยนุ่ม และยาวเกินที่จะหดอยู่ในกระดองได้[24] รยางค์นี้ช่วยให้คาเมลว่ายน้ำได้อย่างมาก โดยทำหน้าที่เหมือนครีบหรือไม้พาย[25] หางของคาเมลดูจะเป็นของสะสมมูลค่าสูง เป็นเหตุให้คนล่ามัน ทำให้จำนวนประชากรลดลง สาเหตุของการ รุกล้ำนี้อาจเกิดจากหางของคาเมลเป็นสัญลักษณ์ของความอายุยืนในโลกโปเกมอน ว่ากันว่าทำให้สิ่งมีชีวิตอยู่ได้หลายพันปี[26] คาเม็กซ์
คาเม็กซ์ (ญี่ปุ่น: カメックス; โรมาจิ: Kamekkusu; ทับศัพท์: Kamex) หรือในภาษาอังกฤษเรียกว่า บลาสทัส หรือ บลาสทอยซ์ (อังกฤษ: Blastoise) โปเกมอนหอย เป็นร่างพัฒนาร่างสุดท้ายของเซนิกาเมะ มีรูปร่างแตกต่างจากร่างก่อนหน้าอย่างสุดโต่ง การเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจนที่สุดคือปืนใหญ่สองกระบอกบนกระดองที่ยิงผ่านเหล็กหนา คาเม็กซ์มีลำตัวกว้างกว่าและโอ่อ่า ศีรษะเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง แขนขาอวบอ้วนและแบ่งเป็นส่วน ๆ มองเห็นกรงเล็บชัดเจน และหางสั้นและดูอ้วน ปืนใหญ่เป็นการปรับเปลี่ยนที่โดดเด่น ทำให้คาเม็กซ์ยิงปืนน้ำด้วยพลังมหาศาลและแม่นยำ น้ำจากปืนใหญ่สามารถทลายเหล็กหนาได้[27] ขณะที่กระสุนปืนสามารถยิงกระป๋องในระยะมากกว่า 160 ฟุตได้อย่างแม่นยำ[28] ปืนใหญ่ยังช่วยให้คาเม็กซ์พุ่งชนด้วยความเร็วสูง[29] แม้ว่าคาเม็กซ์จะตัวใหญ่และหนัก แต่มันสามารถเดินสองขาหรือสี่ขาได้ดี คาเม็กซ์สามารถพบได้บนชายหาดของเกาะติดกับมหาสมุทร แต่มันชอบอาศัยในบ่อหรือทะเลสาบน้ำจืดมากกว่า
คาเตอร์ปี
คาเตอร์ปี (ญี่ปุ่น: キャタピー; โรมาจิ: Kyatapī) เป็นโปเกมอนหนอน[30] ออกแบบโดยเคน ซูกิโมริ[31] ซาโตชิ ทาจิริ ผู้สร้างโปเกมอน ได้แรงบันดาลใจจากงานอดิเรกสมัยเด็กนำไปสู่การสร้างโปเกมอนสายพันธุ์ต่าง ๆ[32] คาเตอร์ปีถูกออกแบบตามหนอนผีเสื้อหางติ่ง (swallowtail)[33] ชื่อของคาเตอร์ปีก็มาจากคำว่า caterpillar เช่นกัน[34] คาเตอร์ปีมีผิวหนังสีเขียวและมีสีเหลืองใต้ท้อง มีจุดสีเหลือง และออสมีทีเรียมสีแดงขนาดใหญ่ยื่นออกมาจากหน้าผาก[35] ร่างกายสีเขียวใช้อำพรางตัวในใบไม้ได้[36] ดวงตาเป็นลายเพื่อทำให้นักล่ากลัว[37] เท้ายึดเกาะพื้นผิวใด ๆ ก็ได้[38] ออสมีทีเรียมบนหัวจะส่งกลิ่นเหม็นเพื่อขับไล่นักล่า[39] คาเตอร์ปีเป็นโปเกมอนร่างดั้งเดิมที่ตัวเล็กที่สุด[40] และเจริญเติบโตโดยการลอกคราบ[30] คาเตอร์ปีพัฒนาร่างเป็นทรานเซว และเป็นบัตเตอร์ฟรีในที่สุด[41] คาเตอร์ปีเรียนรู้ได้เพียงสองท่า ได้แก่ พุ่งชน (Tackle) และ พ่นใย (String Shot) และมีความสามารถจำกัดจนกว่ามันจะพัฒนาร่าง[35] แม้กระนั้น ในเกมทุกเกมตั้งแต่โปเกมอนภาคแพลตินัมเป็นต้นไป คาเตอร์ปีสามารถเรียนท่า นอนกรน (Snore) และ แมลงกัด (Bug Bite) ได้ ทรานเซล
ทรานเซล (ญี่ปุ่น: トランセル; โรมาจิ: Toranseru; ทับศัพท์: Transel) หรือในภาษาอังกฤษเรียกว่า เมตาพอด (อังกฤษ: Metapod) เป็นโปเกมอนดักแด้ พบในป่าแห่งแรก ๆ ในเขตคันโตและโจโต เป็นร่างดักแด้ของคาเตอร์ปี โปเกมอนหนอน ทรานเซลสามารถพัฒนาร่างเป็นบัตเตอร์ฟรี โปเกมอนผีเสื้อ[42] ขณะที่ทรานเซลถูกจัดให้เป็นโปเกมอนดักแด้ แต่มันดูคล้ายกับแดกแด้มากกว่า รูปร่างภายนอกของทรานเซลจะหุ้มเกราะเพื่อปกป้องร่างกายอ่อนนุ่มภายในขณะกำลังเปลี่ยนสัณฐานเป็นบัตเตอร์ฟรี และเพื่อเก็บสะสมพลังงานสำหรับการพัฒนา ทำให้ทรานเซลเคลื่อนที่แทบไม่ได้[43] ว่ากันว่ากระดองของทรานเซลแข็งอย่างเหล็ก แต่การกระทบกระทั่งอย่างหนักอย่างกะทันหันอาจก่อให้ร่างกายที่เปราะบางเป็นอันตราย[44] บัตเตอร์ฟรี
บัตเตอร์ฟรี (ญี่ปุ่น: バタフリー; โรมาจิ: Batafurī) เป็นโปเกมอนผีเสื้อโตเต็มวัยที่ฟักตัวจากทรานเซล ขณะที่โปเกมอนหลาย ๆ ตัวจะพัฒนาเป็นร่างสุดท้ายที่ระดับสูง ๆ บัตเตอร์ฟรีกลายเป็นโปเกมอนที่แข็งแรงสำหรับโปเกมอนเทรนเนอร์ที่เพิ่งเริ่มออกเดินทาง บัตเตอร์ฟรีดูคล้ายกับผีเสื้อมานุษยรูป บัตเตอร์ฟรีมีขาสี่ขา สีฟ้าอ่อน แตกต่างจากแมลงจริง ๆ มีอวัยวะคล้ายจมูกที่มีสีคล้ายกัน สีร่างกายเป็นสีม่วงฟ้าเข้ม บัตเตอร์ฟรีมีปีกสีขาวดำลายเส้น ลายดังกล่าวช่วยแยกแยะเพศ มีตารวม (compound eye) สีแดง บัตเตอร์ฟรีกินน้ำหวานจากดอกไม้ และดูดน้ำหวานบนเส้นขนบนขาเพื่อส่งน้ำหวานกลับไปที่รัง[45] เช่นเดียวกับวงศ์ Lepidoptera ปีกของบัตเตอร์ฟรีปกคลุมด้วยเกล็ดเรียบ ๆ ที่ทนน้ำ และทำให้มันบินฝ่าฝนได้[46] ซึ่งเป็นสิ่งที่โปเกมอนแมลงอื่น ๆ หลายตัวทำไม่ได้ เช่น อาเมมอธ แต่ปีกของบัตเตอร์ฟรียังเคลือบฝุ่นละอองพิษ ซึ่งสามารถยิงละอองพิษใส่ศัตรูในการต่อสู้จากการกระพือปีก[47] บีเดิล
บีเดิล (ญี่ปุ่น: ビードル; โรมาจิ: Bīdoru; ทับศัพท์: Beedle) หรือในภาษาอังกฤษเรียกว่า วีเดิล (อังกฤษ: Weedle) เป็นโปเกมอนแมลงมีขน เป็นหนอนที่พบในป่าแห่งแรกในเขตคันโตและโจโตะ บีเดิลเป็นโปเกมอนอ่อนแอที่ถูกจับเพียงเพื่อพัฒนาร่างเป็นโคคูน ร่างดักแด้ และเป็นสเปียร์ โปเกมอนแตนในที่สุด บีเดิลมีเท้าเล็ก ๆ สีชมพู และจมูกกลม ๆ สีชมพู ปกติจะเจอบีเดิลในป่าและทุ่งหญ้า กินใบไม้ บีเดิลจะป้องกันตัวเองจากนักล่าอย่างดีโดยใช้หนามขนาดสองนิ้วบนหัวที่สามารถหลั่งสารพิษแรงออกมาได้[48] และมีเหล็กในอีกอันอยู่ด้านหลัง บีเดิลใช้ประสาทสัมผัสการดมกลิ่นด้วยจะงอยเพื่อหาชนิดของใบไม้ที่มันกิน[49] เนื่องจากบีเดิลมักอาศัยในป่าและทุ่งหญ้า[50] มันจึงกินใบไม้ได้ทุกวัน[51] โคคูน
โคคูน (ญี่ปุ่น: コクーン; โรมาจิ: Kokūn; ทับศัพท์: Cocoon) หรือในภาษาอังกฤษเรียกว่า คาคูนา (อังกฤษ: Kakuna) เป็นโปเกมอนดักแด้ พบได้ในป่าแห่งแรกในเขตคันโตและโจโตะ ตัวอ่อนของโคคูนของบีเดิล โปเกมอนหนอน โคคูนสามารถพัฒนาร่างเป็นสเปียร์ โปเกมอนแตนได้ โคคูนเป็นดักแด้สีเหลือง รูปทรงข้าวโพด มีหัวเป็นรูปโดมและตารูปสามเหลี่ยมสีดำ ในกระดอง โคคูนจะเตรียมตัวเพื่อพัฒนาไปสู่ร่างเต็มวัย และปริมาณพลังงานจากกระบวนการนี้จะทำให้กระดองค่อนข้างร้อน หากสัมผัสโดน[52] โคคูนมักพบใกล้ ๆ หรือบนต้นไม้ และเนื่องจากขอบเขตการเคลื่อนที่ถูกจำกัด มักมีผู้เข้าใจผิดว่ามันตายแล้ว การเข้าถึงตัวโคคูนแบบไม่ระมัดระวังในขั้นนี้จะดูไม่ฉลาดนักเพราะมันสามารถยืนเหล็กในออกมาป้องกันภัยคุกคามได้[53] สเปียร์
สเปียร์ (ญี่ปุ่น: スピアー; โรมาจิ: Supiā; ทับศัพท์: Spear) หรือในภาษาอังกฤษเรียกว่า บีดริล (อังกฤษ: Beedrill) เป็นโปเกมอนผึ้งมีพิษ เป็นโปเกมอนเหมือนแตนที่โตเต็มที่ซึ่งฟักจากโคคูน ร่างดักแด้ แม้ว่ามันจะเหมือนแตน แต่สเปียร์มีขาแค่สี่ขา ขาคู่แรกมีเหล็กในยาวติดอยู่ มีปีกเป็นลาย และมีเหล็กในอีกอันอยู่ที่ท้อง ถือว่าเป็นพิษที่แรงที่สุด[54] สเปียร์เป็นโปเกมอนที่หวงถิ่น และระมัดระวังไม่ให้สิ่งอื่น ๆ เข้าใกล้[55] เมื่อมันโกรธ สเปียร์จะโจมตีเป็นฝูง และนำพิษจากปลายแหลมเหล็กในและในท้องมาใช้ด้วย[56] ในการเปรียบเทียบระหว่างสเปียร์กับบัตเตอร์ฟรี เบร็ตต์ เอลสตัน แย้งว่าทั้งสองตัวมีไว้สาธิตการพัฒนาร่างให้กับผู้เล่นใหม่ และเสริมว่าสเปียร์จะโจมตีได้มากกว่าบัตเตอร์ฟรี เขายังกล่าวว่าสเปียร์จะถูกแทนที่ด้วยโปเกมอนที่เก่งกว่า[57] เช่นเดียวกับบัตเตอร์ฟรี นิตยสารบอยส์ไลฟ์เรียกสเปียร์ว่าเป็นโปเกมอนที่ "เจ๋งที่สุด" อันดับสามจากห้าอันดับจากโปเกมอนภาคไฟร์เรดและลีฟกรีน[58]
ป็อปโปะ
ป็อปโปะ (ญี่ปุ่น: ポッポ; ทับศัพท์: Poppo) หรือ พิดจี (อังกฤษ: Pidgey) เป็นโปเกมอนนกตัวเล็ก เป็นนกรูปร่างท้วมตัวเล็ก มีสีน้ำตาล บริเวณคอและหน้าท้องมีสีอ่อนกว่า ที่ปลายปีกมีสีครีม เท้าสองข้างและจะงอยเป็นสีเทาอมชมพู ขนนกดูไม่น่าสนใจเมื่อเปรียบเทียบกับพีเจียนและพีจ็อต ร่างพัฒนา ป็อปโปะมีแต้มสีดำรอบตาและมีหงอนเล็ก ๆ สีน้ำตาลและครีมเหนือดวงตา ป็อปโปะมีนิสัยเชื่องและมักเลี่ยงความขัดแย้ง แต่ถ้าถูกรบกวน มันจะจู่โจมกลับด้วยความโกรธ[59] และจัใช้ปีกคุ้ยทรายเกิดเป็นฝุ่นเพื่อพยายามทำให้ศัตรูไขว้เขวและหนีไป[7] ป็อปโปะยังใช้เทคนิคนี้ล่อให้แมลงเล็ก ๆ ด้วย[60] ป็อปโปะจะมีประสาทสัมผัสรับรู้แม่เหล็ก เนื่องจากมันสามารถบินกลับรังได้จากทุกที่โดยไม่เคยหลงทาง[61] ลอเรดานา ลิปเปรีนี นักเขียนหนังสือ เจเนราซีโอเน โปเกมอน: อี บัมบีนี เอ อินวาซีโอเน พลาเนตาเรีย เด นูโอวี ให้ความเห็นว่าขณะที่ชื่อของป็อปโปะ (Pidgey) มาจากคำว่า pigeon (นกพิราบ) แต่มันกลับดูคล้ายนกกระจอกมากกว่า[62] บรรณาธิการเว็บไซต์เกมส์เรดาร์ เบร็ตต์ เอลสตัน มองความเป็นที่นิยมป็อปโปะมาจากการที่พบได้ทั่วไปในอนิเมะ รวมถึงเป็นโปเกมอนที่ไว้ใจได้[63] หนังสือพิมพ์ ดิอินดีเพ็นเดนต์ บรรยายถึงป็อปโปะว่าเป็น "สัตว์ประหลาดหน้าตาน่ารัก" และเป็น "นกพิราบที่โกรธอย่างพอประมาณ"[64] พีเจียน
พีเจียน (ญี่ปุ่น: ピジョン; โรมาจิ: Pijon; ทับศัพท์: Pigeon) หรือในภาษาอังกฤษเรียกว่า พีจีออตโต (อังกฤษ: Pigeotto) เป็นโปเกมอนนก เป็นร่างตัวใหญ่กว่าและแข็งแกร่งกว่าป็อปโปะ ที่ป็อปโปะจะได้รับหากได้รับประสบการณ์เพียงพอ พีเจียนเป็นนกล่าเหยื่อขนาดใหญ่ พีเจียนมีสีหลัก ๆ เป็นสีน้ำตาล แต่มีขนนกที่ละเอียดซับซ้อนกว่าป็อปโปะ หงอนที่ศีรษะของพีเจียนจะยาวกว่าป็อปโปะและมีสีออกแดง ขนหางค่อนข้างมีสีสัน สีแดงสลับกับสีเหลือง นอกจากขนที่มีสีสันแล้ว สีตัวพื้นฐานจะคล้ายกับป็อปโปะ มีเท้าสีเทาอมชมพู และแต้มสีดำรอบตา พีเจียนมีนิสัยหวงบริเวณของตน โดยทั่วไปจะครองพื้นที่ขนาดใหญ่ที่มีรังอยู่ตรงกลาง พีเจียนจะแสดงอาการหวงบริเวณตลอดเวลา และจะจู่โจมผู้บุกรุกอย่างไม่ปราณี พวกมันจะบินเป็นวงกลมขณะล่าเหยื่อ และสามารถสังเกตการเคลื่อนไหวของเหยื่อบนดินไม่ว่ามันจะบินสูงเพียงใด[65] พีเจียนโจมตีด้วยกรงเล็บแหลมและหิ้วเหยื่อ อย่างเช่น ทามะทามะ และคอยคิง กลับไปที่รังจากระยะทาง 60 ไมล์หรือมากกว่า[66] พีเจียนปรากฏในอนิเมะโปเกมอนเป็นหนึ่งในโปเกมอนตัวแรก ๆ ของซาโตชิ และพัฒนาร่างเป็นพีเจียตในที่สุด พีเจียต
พีเจียต (ญี่ปุ่น: ピジョット; โรมาจิ: Pijotto; ทับศัพท์: Pigeot) หรือในภาษาอังกฤษเรียกว่า พีจีออต (อังกฤษ: Pigeot) เป็นโปเกมอนนก เป็นร่างพัฒนาขั้นสุดท้ายในสายวิวัฒนาการของป็อปโปะ พีเจียตตัวขนาดใหญ่กว่าพีเจียนอย่างเห็นได้ชัด ขนนกใหญ่กว่าและเป็นมันวาว ขนที่หงอนบนหัวยาวเกือบเท่าตัวของมัน และเป็นสีเหลืองและแดง ขนที่หางเป็นสีแดง ใต้ท้องเป็นสีแทน และมีแต้มสีดำรอบตา เช่นเดียวกับร่างก่อนหน้า เนื่องจากมีกล้ามเนื้อที่อกแข็งแรง พีเจียตสามารถกระพือปีกเร็วพอที่จะเปลี่ยนกระแสลมเป็นพายุทอร์นาโดได้[67] พีเจียตสามารถบินขึ้นถึงที่ความสูง 3300 ฟุต[68] และทำความเร็วได้ถึงมัค 2[69] พีเจียต เช่นเดียวกับ พีเจียน กินคอยคิงโดยบินโฉบจากฟ้าและจับมันด้วยกรงเล็บขึ้นจากน้ำ[68] พีเจียตคล้ายพีเจียนมากจนมักมีการเข้าใจผิดกัน แม้แต่ในแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ[70] ลอเรดานา ลิปเพรินี ผู้เขียนหนังสือ Generazione Pókemon: i bambini e l'invasione planetaria dei nuovi บรรยายถึงพีเจียตว่าเป็นนักล่าตัวด้วง เหมือนกับนกจริง ๆ[62]
โครัตตา
โครัตตา (ญี่ปุ่น: コラッタ; ทับศัพท์: Koratta) หรือในภาษาอังกฤษเรียกว่า แรตตาตา (อังกฤษ: Rattata) เป็นโปเกมอนหนู โครัตตาดูคล้ายหนูตัวเล็กสีม่วง มีตาขนาดใหญ่สีแดง หน้าท้องสีครีม ฝ่าเท้าเป็นอุ้ง และมีเขี้ยวคู่ โครัตตามีหางม้วนสีม่วง ยาวเล็กน้อย โครัตตามีฟันตัดขนาดใหญ่และหนวดยาวสองข้างที่อาจขาดได้หากโดนแทะ โครัตตามีอุ้งเท้า 3 นิ้ว มีสีเดียวกับหน้าท้อง พวกมันเดินด้วยขาสี่ขา โครัตตามีฟันขนาดใหญ่ที่ใหญ่ขึ้นเพื่อจะได้แทะของแข็งจนสึกกร่อน โครัตตาเป็นโปเกมอนตัวแรก ๆ ที่ผู้เล่นสามารถจับได้ มีมากเสียจนว่ากันว่าหากปรากฏโครัตตาหนึ่งตัว หมายความว่าจะปรากฏโครัตตาอีกกว่า 40 ตัวในบริเวณนั้น[71] พวกมันทำรังไว้เกือบทุกที่[72] และกินทุกอย่างที่มันคุ้ยได้[73] เขี้ยวของโครัตตาจะใหญ่ขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดอายุขัย ดังนั้นมันจึงต้องเหลาเขี้ยวออกโดยแทะวัตถุแข็ง เพื่อให้ขนาดพอเหมาะกับตัวมัน[74] ท่าที่เป็นที่รู้จักดีคือ ความเร็วแสง (Quick Attack) ซึ่งมันจะโจมตีก่อน แม้ว่าจะยังไม่ถึงตาของมันก็ตาม บรรณาธิการเว็บไซต์เกมส์เรดาร์ เรย์มอนด์ พาดิลลา วิจารณ์การออกแบบโครัตตาและรัตตาเรื่องแรงบันดาลใจคล้ายกันเกินไป และบรรยายว่าเป็น "หนูสกปรก" (filthy rodent)[75] นักเขียน ลอเรดานา ลิปเพรินี เขียนว่าทั้ง ๆ ที่มีเขี้ยวคมดั่งมีด โครัตตากลับแบ่งพื้นที่กับป็อปโปะได้อย่างสันติ[76] คริส สกัลเลียน จากนิตยสารออฟฟิเชียลนินเทนโดแมกกาซีน วิจารณ์เรื่องที่พบโครัตตาได้บ่อยและบรรยายว่าเป็น "ขยะ" (rubbish)[77] คอลัมน์ "Pokémon Chick" ของไอจีเอ็น เขียนว่าใครก็ตามที่ไม่เคยเจอโครัตตา เขาคนนั้นไม่เคยเล่นเกมโปเกมอน เธอเสริมว่าเนื่องจากความไม่น่าประทับใจ มันจึงมักถูกเก็บไว้ในกล่องฝากโปเกมอนในคอมพิวเตอร์[78] จอห์น ฟังก์ จากนิตยสารดิเอสคาพิสต์ เรียกโครัตตาว่า "ใบหน้าที่คุ้นเคย" (familiar face)[79] รัตตา
รัตตา (ญี่ปุ่น: ラッタ; ทับศัพท์: Ratta) หรือในภาษาอังกฤษเรียกว่า แรติเคต (อังกฤษ: Raticate) เป็นโปเกมอนหนู มีรูปร่างใหญ่และแข็งแรงกว่าโครัตตา หลังจากได้รับประสบการณ์มากพอขณะที่ยังเป็นโครัตตา รัตตาดูตล้ายหนูสีน้ำตาลอมเหลืองหม่นขนาดใหญ่ มีตาเล็ก ๆ สีดำ ท้องสีเหลือง หางขนาดใหญ่สีครีม และสามารถยืนด้วยขาหลังได้ รัตตามีสีน้ำตาลอมเหลืองมีสีครีมข้างใต้ ในเกมโปเกมอน จะได้รัตตาเมื่อโครัตตาได้รับประสบการณ์ถึงระดับ 20 และพัฒนาร่างเป็นรัตตา เมือเปรียบเทียบกับโครัตตาแล้ว รัตตาเป็นนักล่าเหยื่อมากกว่า และร่างกายของมันถูกปรับตัวให้เป็นนักล่า หนวดของมันให้ความสมดุล และหากหนวดถูกตัดออก มันจะเคลื่อนไหวช้าลง[80] รัตตาเพศเมียมีหนวดสั้นกว่า เท้าของมันมีพังผืดทำให้ว่ายน้ำได้ขณะล่าเหยื่อ[81] และเขี้ยวของมันแข็งพอที่จะแทะอาคารปูนให้โค่นลงได้[82] บนเรือเซนต์แอนน์ ซาโตชิแลกเปลี่ยนบัตเตอร์ฟรีของเขากับรัตตาตัวหนึ่ง และแลกเปลี่ยนกลับในท้ายตอน ยามาโตะมีรัตตาตัวหนึ่งซึ่งมีบทบาทในคติพจน์ (motto) ของเธอและโคซาบุโร เช่นเดียวกับเนียซที่มีบทบาทในคติพจน์ของมุซาชิและโคจิโร ในตอน ดวลเดือด! โปเกมอนยิม! รัตตาเป็นหนึ่งในโปเกมอนของหนึ่งในเทรนเนอร์ใน Kas Gym ตัวละครชื่อมิกะมีรัตตาตัวหนึ่ง เธอใช้ในรอบ appeal round ในการประกวดโปเกมอนในตอน อันดับที่ 1 ฮารุกะ ปะทะ ทาเคชิ โคซาบุโร จากแก๊งร็อกเก็ตใช้รัตตาในตอน แก๊งร็อกเก็ตสลาย มุ่งสู่เส้นทางของตนเอง ในมังงะโปเกมอนสเปเชียล โครัตตาเป็นโปเกมอนตัวแรกของเยลโลว์ ต่อมามันพัฒนาร่างเป็นรัตตา บรรณาธิการเว็บไซต์เกมส์เรดาร์ เบร็ตต์ เอลสตัน ยกย่องรัตตาว่าเป็นโปเกมอนที่เก่งในช่วงแรกของเกม แต่ติว่าไม่มีประโยชน์เมื่อพ้นช่วงแรกของเกมไป[83] เมื่อเธอพบว่ามันเป็นโปเกมอนที่เลี้ยงยาก คอลัมน์ "Pokémon of the Day Chick" ของไอจีเอ็น เรียกรัตตาว่าเป็น "เซอร์ไพรส์น่าคลื่นไส้" (nasty surprise) ต่อคู่ต่อสู้[78] เธอเรียกรัตตาว่าเป็น "หนึ่งในโปเกมอนที่ถูกประเมินต่ำที่สุด"[78] ไมเคิล วรีแลนด์ จากเว็บไซต์วันอัป.คอม ออกความเห็นว่า ท่า "เขี้ยวความเกลียดชัง" (Super Fang) ของรัตตาเป็นท่าที่ผู้เล่นรู้สึกน่ารำคาญ เมื่อเทรนเนอร์คนอื่นใช้ท่านี้กับโปเกมอนของเขา[84] ไอจีเอ็นเขียนว่า ขณะที่มันมีปัญหาเดียวกับโครัตตา แต่มันมีพลังโจมตีสูง[85] โอนิสึซึเมะ
โอนิสึซึเมะ (ญี่ปุ่น: オニスズメ; ทับศัพท์: Onisuzume) หรือในภาษาอังกฤษเรียกว่า สเปียโรว์ (อังกฤษ: Spearow) เป็นโปเกมอนนกเล็ก ชื่อภาษาอังกฤษมาจากคำว่า "spear" และ "sparrow" เมื่อพวกมันถูกฝึกบ่อย ๆ มันจะพัฒนาร่างเป็นโอนิดริล โอนิสึซึเมะเป็นนกตัวเล็กมีขนหยาบ มีรูปร่างจะงอยคล้ายจะงอยของแร็ปเตอร์ เท้าทั้งสองข้างสีชมพูมาสามกรงเล็บ เป็นที่จดจำกันว่าโอนิสึซึเมะอ่อนแอ มักจะชดเชยตรงนั้นด้วยท่า เลียนเสียงนกแก้ว (Mirror Move)[86] พวกมันกินแมลงในทุ่งหญ้าโดยทำให้ตกใจและใช้จะงอยดึงเข้าปาก[87] ปีกของโอนิสึซึเมะบินได้ไม่ไกลและไม่สูงนัก[88] แต่สามารถบินเร็วโดยกระพือปีกอย่างเร็ว[89] โอนิสึซึเมะหวงอาณาเขต จะส่งเสียงหึ่งตลอดเวลาและส่งเรียกร้องดัง ๆ ได้ยินไกลจากระยะทางครึ่งไมล์ เสียงร้องนี้ทำให้นักล่ากลัวได้และใช้สื่อสารกับโอนิสึซึเมะตัวอื่นเป็นเสียงแจ้งเตือนฉุกเฉิน[90] ในตอนแรก ๆ ของอนิเมะโปเกมอน (ตอน โปเกมอน! ฉันเลือกนายนี่แหละ!) ตัวเอก ซาโตชิ พยายามจับโอนิสึซึเมะตัวหนึ่งที่นอกเมืองมาซาระ บ้านเกิดของเขา โดยที่พิคาชูของเขาไม่ยอมช่วย เขาทำได้เพียงขว้างก้อนกรวดไปที่โอนิสึซึเมะ ทำให้มันโกรธ โอนิสึซึเมะเรียกฝูงพวกมันออกมา ไล่ตามซาโตชิและพิคาชู ในที่พิคาชูก็โจมตีด้วยท่าฟ้าผ่า (Thunder) ทำให้ฝูงหนีไปได้ โดยซาโตชิยอมเอาชีวิตตนเองเข้าเสี่ยงเพื่อให้พิคาชูปลอดภัย[91] ซาโตชิต้องกลับมารับมือกับฝูงเดิมอีกครั้งเมื่อเขากลับมาเมืองมาซาระ และพบว่าโอนิสึซึเมะที่เขาเคยพยายามจะจับได้กลายเป็นโอนิดริลแล้ว[92] ฝูงดังกล่าวปรากฏอีกครั้งในภาพนึก ซึ่งซาโตชินึกถึงในตอน มิวและอัศวินคลื่นพลัง ศาสตราจารย์โอคิโดะเคยมีโอนิสุซุเมะหนึ่งตัวในมังงะโปเกมอนสเปเชียล เขาใช้มันต่อสู้กับกรีนในโปเกมอนลีก จากนั้นมันก็พัฒนาร่างเป็นโอนิดริล โอนิดริล
โอนิดริล (ญี่ปุ่น: オニドリル; โรมาจิ: Onidoriru; ทับศัพท์: Onidrill) หรือในภาษาอังกฤษเรียกว่า เฟียโรว์ (อังกฤษ: Fearow) เป็นโปเกมอนจะงอย เป็นนกที่พัฒนาร่างจากโอนิสึซึเมะที่ระดับ 20 โอนิดริลเป็นนกสีน้ำตาลขนาดใหญ่ มีคอคล้ายแร้ง มีจะงอยแหลม ยาว และใหญ่ และหนามสีแดงคล้ายมงกุฎบนหัว มีปีกขนาดใหญ่ ลักษณะพิเศษนี้แตกต่างจากโอนิสึซึเมะที่มีปีกสั้น และจะงอยเล็ก โอนิดริลใช้ปีกจับกระแสลม[93] และถลาไปตามระยะทางไกลโดยไม่ต้องลงพื้นหรือพักผ่อนและแทบไม่ต้องพยายาม[94] มันบินขึ้นฟ้าสูงและโฉบล่าเหยื่อ[95] สามารถเอื้อมถึงเหยื่อได้ง่าย สามารถบินโฉบจับแมลงบนพื้นหรือเหยื่อจากดินหรือน้ำ[96] ถ้ามันสัมผัสอันตรายได้ หากเป็นไปได้ มันจะหลบไป ในซีรีส์อนิเมะ โอนิดริลที่โดดเด่นที่สุดคือหัวหน้าฝูงโอนิสึซึเมะในเมืองมาซาระ และพยายามจะขับไล่ป็อปโปะทุกตัวออกไปจากพื้นที่ ซาโตชิยืนหยัดสู้กับโอนิดริลและตระหนักว่ามันสะสมความแค้นต่อเขาไว้ มันคือโอนิสึซึเมะตัวที่ซาโตชิพยายามจะจับในตอนแรก ๆ พีเจียนของซาโตชิต่อสู้กับโอนิดริลจนชนะ และพัฒนาร่างเป็นพิเจียต[92] ในมังงะเรื่อง Electric Tale of Pikachu โอนิดริลเป็นโปเกมอนตัวแรกที่ซาโตชิจับได้ คล้ายกับตอนแรกในอนิเมะ ซาโตชิและพิคาชูหนีจากฝูงโอนิสึซึเมะที่กำลังโกรธ และเมื่อซาโตชิปกป้องพิคาชูจากอันตราย พิคาชูโจมตีใส่ฝูงจนฝูงหนีไป ซาโตชิตัดสินใจถือโอกาสและจับหัวหน้าฝูงไว้ ศาสตราจารย์โอคิโดะมีโอนิสึซึเมะตัวหนึ่งในมังงะ โปเกมอนสเปเชียล ต่อมาได้พัฒนาร่างเป็นโอนิดริล บรรณาธิการเว็บไซต์เกมส์เรดาร์ เบร็ตต์ เอลสตัน กล่าวว่าขณะที่โอนิดริลไม่ได้เป็นที่กล่าวถึงมากเท่าพิเจียต แต่มันกลับแข็งแรงและว่องไวกว่า[97] อาร์โบ
อาร์โบ (ญี่ปุ่น: アーボ; โรมาจิ: Ābo; ทับศัพท์: Arbo) หรือในภาษาอังกฤษเรียกว่า เอกเกนส์ (อังกฤษ: Ekans) เป็นโปเกมอนงูหางกระดิ่ง โปเกมอนสัตว์เลื้อยคลานนี้มีกระดิ่งที่ปลายหาง และลำตัวส่วนใหญ่เป็นสีม่วง ขณะที่ใต้ท้อง ตา กระดิ่ง และ "แถบ" บนกระดิ่งเป็นสีเหลือง พวกมันกลืนไข่โปเกมอนนกเล็ก เช่น ป็อปโปะ หรือโอนิสุซุเมะ[98] ทั้งใบ อาร์โบสามารถถอดฟันเพื่อกลืนเหยื่อตัวใหญ่ได้ แม้ว่าจะทำให้ตัวมันหนักขึ้น[99] เขี้ยวพิษของมันทำให้ป่าดูอันตราย เนื่องจากมันจะเลื้อยในพงหญ้าและโจมตีทีเผลอได้[100] อาร์โบมีลักษณะพิเศษหลายอย่างเหมือนกับงูทั่ว ๆ ไป เช่น ใช้ลิ้นแลบออกมาเพื่อตรวจหาเหยื่อจากอากาศ[101] และการลอกคราบ ยูจีโอเน็ตเวิกส์ นำอาร์โบและอาร์บ็อกมาเป็นส่วนหนึ่งของ "สัปดาห์งู" (Snake Week) และแสดงความเบิกบานใจว่าโปเกมอนต้องมี "โปเกมอนงูอย่างน้อยหนึ่งตัว" พวกเขาเรียกอาร์โบว่าเป็น "โปเกมอนนักฆ่า" และ "งูม่วงที่โปรดปรานการเอาชนะ" พวกเขาเสริมว่า "ในฐานะรางวัลสำหรับความน่าเบื่อแบบคงเส้นคงวา อาร์โบสามารถพัฒนาร่างเป็นอาร์บ็อก ตัวใหญ่ขึ้น ชั่วร้ายขึ้น และสีม่วงเข้มขึ้นกว่าที่เคย" และว่าอาร์บ็อก "ไม่ได้แตกต่างจากร่างก่อนหน้ามากนักเมื่ออยู่ในสนามต่อสู้ แต่มันดูน่ารักเมื่อโปเกมอนที่เป็นฮีโร่กว่ากำจัดมันได้ราบคาบ"[102] นักเขียน ลอเรดานา ลิปเพรินี บรรยายอาร์โบว่า "จอมทรยศ" (treacherous)[103] อาร์บ็อก
อาร์บ็อก (ญี่ปุ่น: アーボック; โรมาจิ: Ābokku) เป็นโปเกมอนงูเห่า มีรูปร่างขนาดใหญ่ขึ้นและแข็งแรงขึ้นเมื่ออาร์โบได้รับประสบการณ์มากพอ ในเกมโปเกมอน อาร์บ็อกจะได้มาเฉพาะเมื่อพัฒนาร่างอาร์โบเท่านั้น อาร์บ็อกเป็นสัตว์เลื่อยคลานมีเกล็ดสีม่วงเกือบทั่วร่างกาย กระดิ่งที่หางของมันขณะที่เป็นอาร์โบได้หายไป อาร์บ็อก เหมือนงูเห่า สามารถแผ่ซี่โครงไว้ในแผงคอได้ แผงคอของมันถูกออกแบบให้ดูเหมือนใบหน้าเกรี้ยวโกรธ มีการศึกษาเกี่ยวกับลวดลายน่ากลัวที่แผงคอยืนยันว่ามี 6 แบบ[104] แต่ละแบบจะอยู่คนละท้องที่[105] หากมันกัดมันจะปลอดพิษถึงตาย เนื่องจากมันแข็งแรงอย่างร้ายกาจ มันสามารถบดร่างคู่ต่อสู้ได้โดยรัดตัวคู่ต่อสู้และบีบ มันสามารถทำให้เหล็กน้ำมันแบนได้[106] เนื่องจากค่อนข้างดุร้าย มันจึงหวงที่ ถ้ามันเผชิญกับศัตรู มันจะชูหัว ขู่คู่ต่อสู้ด้วยลวดลายน่ากลัว แล้วใช้เขี้ยวพิษกระแทกผู้บุกรุกอย่างแรง[107] ด้วยธรรมชาติที่ต้องการแก้แค้น เมื่อมันเล็งเหยื่อไว้ มันวิ่งไล่เหยื่อหรือคู่ต่อสู่อย่างไม่ยอมแพ้ ไม่ว่าจะไกลเพียงใด[108] โปเกมอนชิก จากไอจีเอ็น เขียนว่าอาร์บ็อกเป็นที่ชื่นชอบในหมู่ผู้เล่น เนื่องจากเป็นศัตรูกับพิกะจูและซาโตชิในอนิเมะ เธอกล่าวว่าอาร์บ็อกมี "นิสัยชอบสงวน และสามารถเพิ่มสีสันและความแปลกใหม่ให้กับทีมใด ๆ ก็ตาม" เธอยังเขียนว่ามันเป็น "โปเกมอนประเภทพิษตัวหนึ่งที่ไม่ใช่มวลเนื้อเยื่อน่าเกลียด" และอ้างอิงเป็นเบโตะเบตอน และมาตาโดกัส เป็นตัวอย่าง[109] เธอเรียกอาร์บ็อกว่าเป็น "ที่รัก" ของเธอ[110] เธอเขียนว่า ขณะที่เธอชอบฮาบุเน็กเพราะมันเป็นงู เธอจะ "รักอาร์บอกง่ายกว่าเล็กน้อยเพราะมีคนแนะนำฉันและฉันได้รู้จักมันก่อน"[111] โปเกมอนออฟเดอะเดย์ของไอจีเอ็น เรียกมันว่าเป็น โปเกมอนพองตัวแรก" และเปรียบเทียบกับหัวหน้าเทวทัณฑ์ในตู้เกมคิว*เบิร์ต[112] ยูจีโอเน็ตเวิกส์ นำอาร์โบและอาร์บ็อกเป็นส่วนหนึ่งของ "สัปดาห์งู" (Snake Week) และแสดงความเบิกบานใจว่าโปเกมอนต้องมี "โปเกมอนงูอย่างน้อยหนึ่งตัว" พวกเขาเรียกอาร์บ็อกว่า "โปเกมอนนักฆ่า" และ "งูม่วงที่โปรดปรานการเอาชนะ" พวกเขาเสริมว่า "ในฐานะรางวัลสำหรับความน่าเบื่อแบบคงเส้นคงวา อาร์โบสามารถพัฒนาร่างเป็นอาร์บ็อก ตัวใหญ่ขึ้น ชั่วร้ายขึ้น และสีม่วงเข้มขึ้นกว่าที่เคย" และว่าอาร์บ็อก "ไม่ได้แตกต่างจากร่างก่อนหน้ามากนักเมื่ออยู่ในสนามต่อสู้ แต่มันดูน่ารักเมื่อโปเกมอนที่เป็นฮีโร่กว่ากำจัดมันได้ราบคาบ"[102] พิคาชู
พิคาชู (ญี่ปุ่น: ピカチュウ; โรมาจิ: Pikachū) เป็นสิ่งมีชีวิตคล้ายหนู และเป็นโปเกมอนรูปแบบไฟฟ้าตัวแรกที่ถูกสร้างขึ้น การออกแบบตั้งใจให้เกี่ยวพันกับแนวคิดเรื่องไฟฟ้า[113] พิคาชูเป็นสิ่งมีชีวิตคล้ายหนูที่มีขนสั้นสีเหลือง มีแต้มสีน้ำตาลอยู่ที่หลังและส่วนหนึ่งบนหางรูปสายฟ้า พิคาชูมีแต้มสีดำที่ปลายหูแหลม และวงกลมสีแดงบนแก้ม สามารถเกิดประกายไฟฟ้าได้[114] ในโปเกมอนภาคไดมอนด์และเพิร์ล มีความแตกต่างระหว่างเพศของโปเกมอน พิคาชูเพศเมียจะมีรอยบากที่ปลายหางดูเป็นรูปหัวใจ พิคาชูโจมตีด้วยการปล่อยกระแสไฟฟ้าจากร่างกายออกไปยังศัตรู ในบริบทของแฟรนไชส์ พิคาชูสามารถพัฒนาร่างเป็นไรชู เมื่อประสบกับหินสายฟ้า ในเกมภาคต่อมาได้เปิดเผยร่างพัฒนาก่อนหน้าชื่อ "พิชู" ซึ่งจะพัฒนาร่างเป็นพิคาชูหลังมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับเทรนเนอร์ ไรชู
ไรชู (ญี่ปุ่น: ライチュウ; โรมาจิ: Raichū) เป็นโปเกมอนหนูไฟฟ้า ตัวสูงกว่าพิคาชูเมื่อพิคาชูประสบกับหินสายฟ้า ไรชูเป็นหนูเดินสองขาตัวค่อนข้างเล็ก สามารถวิ่งได้ด้วยขาสี่ขา ไรชูมีหูและขายาว และขาแขนใหญ่ เหมือนพิคาชู ทั้งสองสายพันธุ์ยังมีลายแนวนอนสีน้ำตาลอยู่ที่หลังสองเส้น หางยาวและเรียวมีปลายรูปสายฟ้า ซึ่งในเพศเมียจะเล็กกว่าและทื่อ ไรชูมีตัวสีส้ม หน้าท้องสีขาว อุ้งเท้าสีน้ำตาล เช่นเดียวกับนิ้วเท้า ขณะที่ฝ่าเท้ามีสีแทน หูสองแฉกด้านนอกมีสีน้ำตาลและด้านในมีสีเหลือง และที่ปลายหูด้านล่างสุดโค้งเป็นลอน ถุงที่แก้มเป็นสีเหลือง แตกต่างจากพิคาชูที่มีแก้มสีแดง ไรชูมีนิสัยก้าวร้าวถ้ามีไฟฟ้าในตัวมากเกินไป และสามารถเก็บประจุไฟฟ้าได้ถึง 100,000 โวลต์ ในอนิเมะ ผู้หมวดมาชิสุ หัวหน้ายิมของเมืองคุชิบะ มีไรชูหนึ่งตัวที่เอาชนะพิคาชูของซาโตชิได้ด้วยพลังรุนแรง หลังจากพูดคุยกันเรื่องวิวัฒนาการเพื่อให้พลังของพิคาชูเทียบเท่ากับไรชูได้ (พิคาชูไม่ยอมพัฒนาร่าง) ซาโตชิใช้กลยุทธ์ยึดจากความเร็วของพิคาชูจนเอาชนะไรชูในวันถัดมา[115] ตั้งแต่นั้นมา ไรชูเริ่มนับถือพิคาชูมากขึ้น ไรชูยังปรากฏตัวเป็นผู้สร้างปัญหาให้พิคาชูและเพื่อน ๆ ในภาพยนตร์สั้นเรื่อง Pikachu's Summer Vacation ร่วมกับมาริล บลู และคาระคาระ ในโปเกมอนสเปเชียล ผู้หมวดมาชิสุ ก็มีไรชูหนึ่งตัว เห็นได้ครั้งแรกในบริษัทซิลฟ์ แต่ไม่เคยเข้าแข่งขันจนกระทั่งได้ต่อสู้กับชายสวมหน้ากาก (Masked Man) ในหลุมหลบภัยโชจิ โดยไรชูช่วยผู้หมวดบุกรุกและต้อนผู้บงการให้จนมุม จนกระทั่งเดลวิลของเขาเรียกฝูงเดลวิลมาขัดขวางผู้หมวดเสียเอง ตั้งแต่ไรชูปรากฏตัวในซีรีส์โปเกมอน ไรชูได้รับการตอบรับอย่างดี มันปรากฏเป็นสินค้าหลายชิ้น เช่น ตุ๊กตา จุลประติมากรรม และโปเกมอนเทรดดิงการ์ดเกม ไรชูยังเป็นส่วนหนึ่งของชุดมื้ออาหารบิกคิดส์มีล ของเบอร์เกอร์คิงด้วย[116] หนังสือพิมพ์ชิคาโกซันไทม์ เรียกพิคาชูว่า "ของโปรดตัวเก่า" (old favorite)[117] ลอเรดานา ลิปเปรีนี ผู้เขียนหนังสือ เจเนราซีโอเน โปเกมอน: อี บัมบีนี เอ อินวาซีโอเน พลาเนตาเรีย เด นูโอวี ' ให้ความเห็นว่าไรชูไม่ได้มีชื่อเสียงยิ่งใหญ่เท่าพิคาชู[118] ไรอัน โอเมกา ผู้เขียนหนังสือ Anime trivia quizbook: from easy to otaku obscure, episode 1 ให้ความเห็นว่าไรชู "ไม่ได้น่ารักขนาดนั้น" และนี่คือสาเหตุที่ซาโตชิไม่ต้องการให้พิคาชูของเขาพัฒนาร่าง[119] ปิแอร์ บรูโน ผู้เขียนหนังสือ ลา คูจัวร์ เดอ อ็องฟอนซ์ อา เออ เดอ ลา มงดีอาลีซาซียง (ฝรั่งเศส: La culture de l'enfance à l'heure de la mondialisation; อังกฤษ: The culture of childhood in the era of globalization) เปรียบเทียบการต่อสู้ระหว่างไรชูของผู้หมวดมาชิสุและพิคาชูของซาโตชิ กับเรื่อง David and Goliath[120] บรรณาธิการจากไอจีเอ็น ในคอลัมน์ "Pokémon of the Day Chick" ชี้ว่าไรชู "เป็นที่รักของคนหลายคน และเป็นที่รังเกียจของคนอีกหลายคน" แม้เธอจะให้ความกระจ่างว่า ความเกลียดที่มีต่อไรชูนั้นต่างจากความเกลียดที่มีต่อพิคาชูมาก เธอยังบรรยายไรชูอีกว่า "ดูโง่" (stupid-looking)[121] บรรณาธิการเว็บไซต์เกมส์เรดาร์ เบร็ตต์ เอลสตัน ให้ความเห็นว่าเนื่องจากมีการพูดถึงพิคาชูเป็นจำนวนมาก ทำให้ "ลืมว่ามีไรชูอยู่จริงได้ง่าย ๆ"[122] แซนด์
แซนด์ (ญี่ปุ่น: サンド; โรมาจิ: Sando; ทับศัพท์: Sand) หรือในภาษาอังกฤษเรียกว่า แซนด์ชรู (อังกฤษ: Sandshrew) เป็นโปเกมอนหนู เป็นหนูที่มีผิวหนังลายอิฐ พบได้ในหลายท้องที่ในโลกโปเกมอน ทั้ง ๆ ที่ชื่อภาษาอังกฤษเป็นเช่นนี้ ร่างกายของแซนด์ดูเหมือนอาร์มาดิลโลหรือลิ่นมากกว่าหนูผี (shrew) การป้องกันตัวโดยหลัก ๆ เมื่อถูกคุกคามคือการม้วนตัวให้เป็นลูกบอล เหลือไว้เพียงผิวหนังที่แข็งกระด้าง เมื่อมันม้วนเช่นนี้ แซนด์จะรับมือการโจมตีได้หลายอย่าง เช่นเดียวกับการตกจากที่สูง (คล้ายกับตัวเฮดจ์ฮอก) สิ่งแวดล้อมตามธรรมชาจิของแซนด์จะอยู่ในทรายในที่แห้งแล้ง ความชื้นต่ำ เช่น ทะเลทราย มันจะเลือกแหล่งที่อยู่สำหรับซ่อนตัวในที่ที่แห้งและทนทาน ขณะที่ทรายจะเป็นที่อำพรางตัวได้ดี เพื่อให้สอดคล้องกับลักษณะทางร่างกายของแซนด์ ในวิดีโอเกม แซนด์มีพลังป้องกันสูง แต่พลังความเร็วต่ำ ตั้งแต่ภาครูบีและแซฟไฟร์เป็นต้นไป แซนด์มีความสามารถพิเศษคือ หลบในทราย (Sand Veil) ซึ่งจะเพิ่มพลังหลบหลีกท่ามกลางพายุทราย แซนด์ยังปรากฏในเกมโปเกมอนสแน็ปด้วย ในเกมโปเกมอนสเตเดียม แซนด์ปรากฏในมินิเกม "ดิก! ดิก! ดิก!" ซึ่งผู้เล่นต้องขุดลงใต้ดินก่อนได้ตัวอื่น ๆ แซนด์ตัวหนึ่งเป็นโปเกมอนของอะคิระ ในอนิเมะตอนที่แปด "เส้นทางสู่โปเกมอนลีก" (The Path to the Pokémon League) มันมีลักษณะโดดเด่นมากมาย เช่น ความสามารถทนน้ำและสามารถใช้ท่า สร้างรอยแยก (Fissure) ซึ่งมันใช้กำจัดแก๊งร็อกเก็ต และแซนด์ของเขาปรากฏเป็นฉากนึกย้อนในโปเกมอนภาคเยลโลว์ แซนด์แพน
แซนด์แพน (ญี่ปุ่น: サンドパン; โรมาจิ: Sandopan; ทับศัพท์: Sandpan) หรือในภาษาอังกฤษเรียกว่า แซนด์สแลช (อังกฤษ: Sandslash) เป็นโปเกมอนหนู ตัวใหญ่และแข็งแรงกว่าแซนด์ เมื่อแซนด์ได้รับประสบการณ์ถึงระดับ 22 พวกมันจะเป็นเฮดจ์ฮอกเดินสองขาขนาดค่อนข้างใหญ่ หรือเป็นสัตว์คล้ายลิ่น มีผิวหนังสีเหลือง กรงเล็บยาว และหลังเต็มไปด้วยหนามสีน้ำตาลขนาดใหญ่กระจุกกันอยู่ หนามเหล่านี้เป็นส่วนแข็งในหนังของแซนด์แพนที่ผุดขึ้น เพื่อสร้างพลังป้องกันตนเองโดยธรรมชาติ เมื่อแซนด์แพนม้วนตัวเป็นลูกบอล หนามแต่ละอันจะอยู่บนตัวแซนด์แพนนานหนึ่งปี หลังจากนั้นมันจะร่วงลงและจะมีหนามใหม่ผุดขึ้นมาแทน ซันโดบันพบได้ในทะเลทราย โดยเฉพาะแห่งที่อยู่ใกล้ป่าไม้เขตร้อน หนามของแซนด์แพนมีจุดประสงค์ช่วยรับมือกับสิ่งแวดล้อม เช่น ร่มเงาป้องกันแสงอาทิตย์และลมแดด หรือใช้จู่โจมนักล่าหรือเหยื่อ แซนแพนใช้กรงเล็บปีนต้นไม้ ตัดอาหารและขุดดิน การขุดดินอาจทำให้กรงเล็บหักได้หากมันขุดเร็วเกินไป แซนแพนวิ่งได้ไม่เร็วมาก นิโดรัน (เพศเมีย)
นิโดรัน (เพศเมีย) (ญี่ปุ่น: ニドラン♀; โรมาจิ: Nidoran Mesu) เป็นโปเกมอนหนูพิษ พบได้ในภูมิภาคคันโต โจโต ซินโน และคาลอส ในโลกโปเกมอน นิโดรันเพศผู้เป็นสายพันธุ์ที่แยกจากเพศเมียเนื่องจากความแตกต่างทางร่างกายระหว่างเพศ เช่น เพศเมียตัวสีฟ้า แทนที่สีม่วง และมีเขาขนาดเล็กกว่าเพศผู้ นิโดรันเป็นโปเกมอนตัวแรกที่มีเพศก่อนเกมโปเกมอนภาคโกลด์และซิลเวอร์ออกจำหน่าย แม้ว่าจนทุกวันนี้จะยังแยกเป็นคนละสายพันธุ์อยู่ นิโดรันป้องกันตนเองด้วยเหล็กในพิษ นิโดรันเพศเมียตอนเกิดจะเหมือนกับเพศชาย 15 เท่า แต่อย่างไรก็ตาม นิโดรันเพศเมียและเพศผู้ไม่สามารถผสมพันธุ์กันในเกม กฎเดียวกันนี้ยังใช้กับโปเกมอนในสายวิวัฒนาการเดียวกันด้วย นิโดรันพบได้ง่ายในคันโต และโจโต แต่ในซินโนะ ต้องใช้เครื่องตามรอยโปเกมอน หรือ โปเกเรดาร์ (PokéRadar) เพื่อหามัน และในคาลอส พวกมันปรากฏบนถนนสาย 11 ระหว่างต่อสู้กันเป็นฝูง นิโดรินา
นิโดรินา (ญี่ปุ่น: ニドリーナ; โรมาจิ: Nidorīna) โปเกมอนเข็มพิษ มีขนาดใหญ่กว่านิโดรันอย่างมาก แม้ว่ามันจะไม่มีเขาที่หน้าผาก หนวด และฟันหน้าแล้ว นิโดรินามีสีน้ำเงินเทอร์ควอยซ์ (turquoise) ข้างใต้มีสีซีด หนามพิษของนิโดรินามีขนาดใหญ่ และจะหดได้เมื่อมันรู้สึกผ่อนคลาย[123] นิโดรินายืนได้ด้วยขาหลัง นิโดรินาเป็นคู่เหมือนของนิโดริโน สังเกตได้จากชื่อที่ลงท้ายด้วย a แทน o ในชื่อนิโดริโน A เป็นเสียงสระในภาษาอังกฤษที่ระบุเพศเมีย โดยเฉพาะในท้ายชื่อ นิโดรินาดูเชื่องและสบาย ๆ กว่านิโดริโน[124] มันเป็นแม่ที่เอาใจใส่ เคี้ยวอาหารให้ลูกของมัน[125] แม้ว่ามันไม่ชอบต่อสู้นัก เมื่อมันต่อสู้ มันจะใช้กรงเล็บและกัด[126] นิโดรินาแสดงความผูกพันกับนิโดรินาและสายพันธุ์เดียวกัน และมันจะหงุดหงิดเมื่อถูกแยก[127] อย่างไรก็ตาม เมื่อมันโกรธ นิโดรินาจะเป็นศัตรูที่น่ากลัว สามารถกรีดร้องเป็นเสียงคลื่นความถี่สูง (ultrasonic) เพื่อให้คู่ต่อสู้สับสน[128] นิโดรินาอาศัยอยู่ในทุ่งหญ้าสะวันนาและที่ราบอากาศร้อน อาศัยร่วมกับนิโดริโน พวกมันพบได้ง่ายในคันโต แต่หายากในซินโน นิโดรินาของเอมิลี ชื่อเล่นว่า แมรี พัฒนาร่างเป็นนิโดรินาหลังจากสู้กับแก๊งร็อกเก็ต และจูบนิโดรันเพศผู้ของราล์ฟ ชื่อเล่นว่า จอห์น ในตอน เรื่องราวความรักของนิโดรัน หัวหน้ายิมชื่อ อาคาเนะ มีนิโดรินาตัวหนึ่ง ที่ฮิโนอาราชิของซาโตชิสู้ชนะได้อย่างง่ายดาย กรีนเคยมีนิโดรันเพศเมีย ในโปเกมอนสเปเชียล ต่อมาพัฒนาร่างเป็นนิโดรินา และนิโดควีนในเวลาต่อมา นิโดควีน
นิโดควีน (ญี่ปุ่น: ニドクイン; โรมาจิ: Nidokuin) เป็นโปเกมอนสว่าน เป็นสายพันธุ์ที่โตเต็มวัย รูปร่างคล้ายตัวพอสซัม ในซีรีส์โปเกมอน นิโดควีนได้มาจากนิโดรินาประสบกับหินแสงจันทร์ (Moon Stone) นิโดควีนเป็นสิ่งมีชีวิตกินเนื้อและกินพืช มันจะกินพุ่มไม้และผลไม้ แต่มันอาจกินโปเกมอนตัวเล็ก ๆ เป็นโปรตีนได้ นิโดควีนดูตื่นตัวน้อยกว่านิโดคิง และจะเข้ากับพวกเดียวกันได้ดีกว่า นิโดควีนดูอ่อนแอกว่าเล็กน้อย แต่ฉลาดกว่านิโดคิงอย่างมาก หนึ่งในนิโดควีนที่โดดเด่นในเกมโปเกมอนคือ นิโดควีนของซาคากิ หัวหน้าแก๊งร็อกเก็ต ในโปเกมอนภาคเรดและบลู และภาคทำใหม่ ไฟร์เรดและลีฟกรีน อย่างไรก็ตาม เขาไม่ได้ใช้นิโดควีนจนกระทั่งเขาต่อสู้ในอาคารบริษัทซิลฟ์ ในเมืองยามาบุกิ นิโดรัน (เพศผู้)
นิโดรัน (เพศผู้) (ญี่ปุ่น: ニドラン♂; โรมาจิ: Nidoran Osu) เป็นโปเกมอนเข็มพิษ รูปร่างคล้ายกระต่าย พบได้ในภูมิภาคคันโต โจโต ซินโน และคาลอส ในโลกโปเกมอน นิโดรันเพศเมียจะแตกต่างจากโปเกมอนส่วนใหญ่ โดยมันจะถูกแบ่งเป็นคนละสายพันธุ์กับเพศผู้เนื่องจากความแตกต่างทางร่างกายในเรื่องเพศ เช่น เพศผู้มีเขาขนาดใหญ่กว่า และมีสีแตกต่างจากเพศเมียโดยสิ้นเชิง นิโดรันเพศผู้มีสีม่วง เขาของมันหลั่งสารพิษทรงพลังออกมาได้ ขนาดของเขากำหนดศักยภาพของพิษ หูของนิโดรันจะแข็งตัวเพื่อประสบอันตราย นิโดรันเพศผู้เกิดขึ้นน้อยกว่า ดังนั้นมันจะคอยปกป้องพวกเดียวกับจากอันตราย นิโดรันพบได้ง่ายในคันโตและโจโต แต่หายากในคาลอส เนื่องจากมันจะปรากฏเฉพาะเมื่อเผชิญเป็นฝูงเท่านั้น นิโดริโน
นิโดริโน (ญี่ปุ่น: ニドリーノ; โรมาจิ: Nidorīno) เป็นโปเกมอนเข็มพิษ มีขนาดใหญ่กว่าและแข็งแรงกว่านิโดรันเพศผู้หลังจากมันได้รับประสบการณ์เพียงพอ นิโดริโนดูเหมือนแรดและกระต่ายมีเข็มและเขาอยู่บนร่างกาย นิโดริโนมีนิสัยก้าวร้าวกว่านิโดรันเพศผู้ และจะโจมตีอย่างรวดเร็วเมื่อสังเกตเห็นภัยคุกคาม โดยใบหูขนาดใหญ่จะคอยสังเกตการณ์ เขาที่แข็งดั่งเพชรบนหัวจะหลั่งพิษทรงพลังออกมาได้ และเมื่อโจมตีศัตรู พิษจะไหลออกมาด้วย ถ้ามันสัมผัสว่าศัตรูมาใกล้ เข็มที่หลังจะลุกขึ้น นิโดริโนเป็นคู่ต่างเพศของนิโดรินา ในซีรีส์โปเกมอน นิโดริโนสามารถพบได้ในภูมิภาคคันโตและโจโตในโลกโปเกมอน และจะได้มาเมื่อนิโดรันเพศผู้ถึงระดับ 16 และพัฒนาร่างเป็นนิโดริโน เป็นที่โดดเด่นเนื่องจากเป็นหนึ่งในโปเกมอนสองตัวแรกที่เห็นในอนิเมะและฉากเข้าเกมโปเกมอนภาคเรด นิโดคิง
นิโดคิง (ญี่ปุ่น: ニドキング; โรมาจิ: Nidokingu) เป็นโปเกมอนสว่าน สายพันธุ์โตเต็มวัยและร่างสุดท้ายของนิโดรันเพศผู้ รูปร่างคล้ายพอสซัม เขาของมันแข็งพอที่จะทะลุเพชรและบรรจุพิษอยู่ ทำให้เป็นอาวุธแทงเหยื่อและโปเกมอน นิโดคิงมีพละกำลังส่วนบนของร่างกายอย่างแข็งแรง สามารถทำลายเสาโทรศัพท์ให้เป็นเศษเล็ก ๆ ได้ นิโดคิงใช้หางทุ่มศัตรู จากนั้นรัดตัวเพื่อให้กระดูกหัก หางหนา ๆ มีพลังทำลายมหาศาลสามารถล้มหอคอยสื่อสารที่สร้างจากเหล็กได้ เมื่อนิโดคิงพิโรธ ไม่มีสิ่งใดหยุดมันได้ ในอนิเมะจะพบนิโดคิงน้อยกว่านิโดควีน มันมักจะเป็นหัวหน้าฝูง โดยมีเพื่อนนิโดควีนอยู่ข้าง ๆ อีกหลายตัว ในซีรีส์โปเกมอน ผู้เล่นจะได้นิโดคิงเมื่อใช้หินแสงจันทร์กับนิโดริโน นิโดคิงเป็นเพศผู้ของนิโดควีน นิโดคิงจะสู้กับนิโดคิงตัวอื่น ๆ เพื่อแย่งพื้นที่และอาหาร (หรือนิโดควีนในฤดูผสมพันธุ์) นิโดคิงตัวที่โดดเด่นในเกมคือนิโดคิงของซาคากิ หัวหน้าแก๊งร็อกเก็ตในเกมโปเกมอนภาคเรดและบลู และภาคทำใหม่ ไฟร์เรดและลีฟกรีน อย่างไรก็ตาม เขาไม่ได้ใช้นิโดคิงจนเขาต่อสู้ในยิมของเมืองโทคิวะ ในผลสำรวจที่จัดโดยไอจีเอ็น นิโดคิงได้รับโหวตเป็นอันดับที่ 42 ซึ่งเจ้าหน้าที่ได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับเหตุที่นิโดคิงไม่ได้ครองมงกุฎ พวกเขายังกล่าวต่อไปว่า "บางทีในเจนเนอเรชัน 6 เขาจะได้เป็นราชาจริง ๆ เสียที"[129] ปิปปี
ปิปปี (ญี่ปุ่น: ピッピ; ทับศัพท์: Pippi) หรือในภาษาอังกฤษเรียกว่า เคลเฟรี (อังกฤษ: Clefairy) เป็นโปเกมอนสองขาตัวเล็ก ตัวสีชมพู มีแขนขาม่อต้อ และร่างกายกลมทำให้ดูอ้วนท้วน มันยังมีหูที่ไวต่อเสียง ปลายหูมีสีน้ำตาล ปิปปีมีปีกเล็ก ๆ แต่บินไม่ได้ แต่ทำให้มันกระโดดตัวสูงได้ และเมื่อมันเก็บแสงจันทร์ไว้ในปีก จะทำให้ลอยกลางอากาศได้[130] ปิปปีเคยถูกเลือกให้เป็นโปเกมอนตัวหลักในโปเกมอนฉบับหนังสือการ์ตูนเพื่อให้ดึงดูดผู้อ่านมากขึ้น อย่างไรก็ตาม พิคาชูได้รับเลือกให้เป็นตุ๊กตาสัญลักษณ์ในอนิเมะ และกลายเป็นตุ๊กตาสัญลักษณ์ของซีรีส์โปเกมอนทั้งซีรีส์ เพื่อดึงดูดผู้อ่านหญิงสาวและแม่ของพวกเขา ปิปปีพัฒนาร่างเป็นปิคซีเมื่อมันประสบกับหินแสงจันทร์[131] ตระกูลปิปปีแต่เดิมเป็นโปเกมอนรูปแบบปกติ แต่ในเจนเนอเรชันที่ 6 พวกมันเปลี่ยนเป็นรูปแบบภูติล้วนแทน เช่นเดียวกับตระกูลของบลู อย่างไรก็ตาม ตระกูลของปิปปียังมีท่าโจมตีเป็นรูปแบบปกติจำนวนมาก ปิปปีปรากฏในโปเกมอนภาคหลักทุกภาค และยังปรากฏในภาคพิเศษ เช่น โปเกมอนสเตเดียม และเกมหลายเกมในชุดซูเปอร์สแมชบราเธอร์ ปิปปีปรากฏในอนิเมะครั้งแรกในตอน ปิปปีกับหินพระจันทร์ ซาโตชิและเพื่อน ๆ พบกับกลุ่มของปิปปีที่ภูเขาโอสึคิมิที่กำลังบูชาหินแสงจันทร์อยู่[132] มันยังปรากฏในอีกหลาย ๆ ตอนถัดมา ปิปปียังปรากฏในมังงะโปเกมอน ปิปปีตัวหนึ่งนิสัยขี้อายและขี้ขลาดเป็นตัวละครหลักในมังงะเรื่อง พ็อกเก็ตมอนสเตอร์ ปีปีปี ★ แอดเวนเจอร์ (Pocket Monsters PiPiPi ★ Adventures) บรรณาธิการส่วน "โปเกมอนออฟเดอะเดย์ชิก" ของไอจีเอ็น เรียกปิปปีเป็น "โปเกมอนที่โด่งดัง" แม้ว่าไม่มากนักในสหรัฐอเมริกาหากเทียบกับญี่ปุ่น เธอยังเสริมว่าเธอเขียนบทความเกี่ยวกับปิปปีเท่านั้นเพราะเธอไม่ชอบปิคซี แต่เธอก็ว่ามัน "เจ๋งดี" (cool enough)[133] บรรณาธิการเกมส์เรดาร์ แครอลิน กัดมันด์สัน เทียบปิปปีกับพูริน แล้วกล่าวว่า มันใช้ประโยชน์ได้น้อยกว่า ทั้ง ๆ ที่ปิปปีเกือบจะได้เป็นตุ๊กตาสัญลักษณ์ของซีรีส์ เธอยังเสริมว่านี่เป็นส่วนหนึ่งของการออกแบบโปเกมอนเกินจำเป็น "เจ้าก้อนเนื้อสีชมพูน่ากอด" (huggable pink blob)[134] ปิคซี
ปิคซี (ญี่ปุ่น: ピクシー; โรมาจิ: Pikushī; ทับศัพท์: Pixy) หรือในภาษาอังกฤษเรียกว่า เคลฟาเบิล (อังกฤษ: Clefable) เป็นโปเกมอนภูติ รูปร่างคล้ายปิปปี ตัวใหญ่กว่า มีหูและปีกหยัก ๆ ที่โดดเด่น พิกซีอาศัยอยู่บริเวณภูเขาที่ห่างไกล และสภาพแวดล้อมใด ๆ ที่มีเสียงล้อมรอบไม่ดังนัก ปิคซีมีประสาทสัมผัสไวต่อการได้ยินอย่างมาก กล่าวกันว่า มันสามารถได้ยินเสียงเข็มหมุดที่ตกลงจากที่สูง 1,100 หลา (1,000 เมตร) ได้ ดังนั้นมันจึงเลี่ยงที่อยู่ที่มีมลพิษทางเสียง ปิคซีมีนิสียขี้ขลาด และหาในป่าได้ยาก พวกมันจะหลีกเลี่ยงการติดต่อกับคนนอก แม้แต่การสัมผัสได้ว่ามีคนแปลกหน้าเข้ามาในพื้นที่ (ซึ่งค่อนข้างง่ายเนื่องจากการได้ยินที่ยอดเยี่ยม) จะทำให้ปิคซีวิ่งหนีและหลบซ่อนทันที แต่พวกมันจะกลับมาในที่เปิดโล่งในคืนเงียบ ๆ เพื่อเดินเล่นที่ทะเลสาบ ปีกของปิคซีไม่อาจใช้บินได้จริง แต่สามารถใช้กระโดดเด้งราวกับมันเดินอยู่บนพื้นผิวดวงจันทร์ พวกมันสามารถเดินข้ามผิวน้ำได้ด้วยวิธีนี้ ดังนั้นเมื่อมันเดินเล่นที่ทะเลสาบดังที่กล่าวมา หมายความว่ามันเดินบนทะเลสาบจริง ๆ ปีกขอพิกซี การเดินแบบเหาะ ความขี้ขลาดและความว่องไวทำให้มันถูกจัดเป็นโปเกมอนรูปแบบภูติชนิดหนึ่ง โรคอน
โรคอน (ญี่ปุ่น: Vulpix; โรมาจิ: ロコン; Rokon ฉหรือชื่อภาษาอังกฤษคือ วัลพิกซ์ (อังกฤษ: Vulpix) โปเกมอนสุนัขจิ้งจอก รูปร่างเหมือนสุนัขจิ้งจอกมีหางม้วนหกหาง ออกแบบจากสุนัขจิ้งจอกในตำนานญี่ปุ่น คิสึเนะ ตั้งแต่เกิด โรคอนเริ่มมีหางเดียวสีขาว ต่อมาหางแยกออกจากกันเมื่อหางเปล่งแสงและกลายเป็นสีแดง[135][136] ส่วนใหญ่โรคอนเป็นเพศเมีย ว่ากันว่ามีหางและขนสวยงาม[137] โรคอนมีเปลวไฟในร่างกาย เมื่ออุณหภูมิภายนอกเพิ่มขึ้น พวกมันจะปล่อยไฟออกจากปากเพื่อป้องกันไม่ให้อุณหภูมิในร่างกายร้อนเกินไป[138] พวกมันสามารถควบคุมไฟ และทำให้ไฟลอยขึ้นเหมือนกับลูกไฟผี (will-o-wisp)[139] ในป่า โรคอนจะแกล้งเจ็บเพื่อหนีจากนักล่าที่เก่งกาจ[140] นินเท็นโดมักกำหนด "ชื่อที่ฉลาดและบรรยาย" ให้โปเกมอนหลายชนิดให้สอดคล้องกับร่างกายหรือคุณสมบัติ เมื่อแปลเกมให้กับผู้ชมฝั่งตะวันตกเพื่อให้ตัวละครเข้าถึงเด็กอเมริกันได้ง่าย[141] เดิมทีชื่อภาษาอังกฤษของโรคอนคือ Foxfire จนกระทั่งนินเท็นโดอเมริกาเปลี่ยนเป็น Vulpix มาจากคำว่า "vulpus" คำภาษาละตินแปลว่าสุนัขจิ้งจอก[142] คิวคอน
คิวคอน (ญี่ปุ่น: キュウコン; โรมาจิ: Kyūkon) หรือชื่อภาษาอังกฤษคือ ไนน์เทลส์ (อังกฤษ: Ninetales) โปเกมอนสุนัขจิ้งจอก เป็นสุนัขจิ้งจอกเก้าหางสีขาวออกทอง ออกแบบตามตำนานสุนัขจิ้งจอกญี่ปุ่น คิสึเนะ[143] แรงบันดาลใจหลักในการสร้างตัวคิวคอน มาจากคีวบิ (ญี่ปุ่น: Kyūbi; โรมาจิ: 九尾) ที่มีพลังคล้าย ๆ กัน เช่น การเปลี่ยนรูปร่าง (shapeshifting) ชื่อของคิวคอนมาจากจำนวนเก้าหาง และข้อเท็จจริงที่ว่า แนวคิดสร้างคิวคอนมาจากตำนานปรัมปราญี่ปุ่น[143] โปเกมอนตัวนี้ปกคลุมด้วยขนหนา สีขาวออกทอง มีหงอนนุ่มบนหัว และแผงคอรอบคอ คิวคอนมีตาสีแดง ว่ากันว่าทำให้มันมีพลังควบคุมจิตใจ[144] หางเก้าหางครอบครองพลังงานจักรวาลแปลกประหลาด[145][146] ที่ทำให้มันอายุยืนถึง 1,000 ปี[147] คิวคอนเป็นโปเกมอนที่ฉลาดมาก เข้าใจคำพูดของมนุษย์[148] พวกมันมีความอาฆาตแค้นและว่ากันว่ามันจะสาปแช่งผู้ที่เลี้ยงมันในทางผิด ๆ เป็นเวลา 1,000 ปี[149][150] โปเกมอนตัวนี้มีตำนานบอกเล่ามากมาย หนึ่งในนั้นกล่าวว่า คิวคอนถือกำเนิดเมื่อมีนักบุญเก้าคนรวมตัวกันและกลับมาเกิดใหม่เป็นคิวคอน[151] พูริน
พูริน (ญี่ปุ่น: プリン; ทับศัพท์: Purin) หรือชื่อภาษาอังกฤษคือ จิกกลีพัฟฟ์ (อังกฤษ: Jigglypuff) โปเกมอนลูกโป่ง มีรูปร่างคล้ายลูกบอล ผิวหนังสีชมพู ตาขนาดใหญ่สีเขียวหรือฟ้า หูเหมือนแมว และมีปอยขนบนหน้าผาก ผิวหนังของมันลื่นและยืดหยุ่นได้ พูรินสามารถพองตัวเหมือนลูกโป่ง (มักทำเช่นนี้เมื่อมันโกรธ และมักมาพร้อมกับเสียง "แตร") หรือสามารถทำตัวแบนเหมือนตัวละครของนินเท็นโด ชื่อ เคอร์บี ขนาดตัวของมันจะเติบโตไดัถึงเพียงใดนั้นไม่เป็นที่ทราบ พูรินมีลักษณะพิเศษที่การร้องเพลงกล่อมเด็กที่ทำให้ศัตรูหลับ[152] ก่อนพูรินร้องเพลง พวกมันจะสะกดจิตศัตรูด้วยตาที่อ่อนโยน และถ้าพวกมันพองตัว พวกมันสามารถร้องเพลงได้นาน[152][153] พวกมันสามารถปรับคลื่นความยาวของเสียงให้เข้ากับคลื่นสมองของคนที่หลับได้ ทำให้ท่วงทำนองชวนผู้ฟังให้ผล็อยหลับ[154] พวกมันร้องเพลงโดยไม่หยุดหายใจ ดังนั้นถ้าศัตรูสามารถต้านการทำให้หลับได้ พวกมันจะไม่มีอากาศหายใจ[155] พนักงานของเกมฟรีกกล่าวว่าพูรินเป็นหนึ่งในโปเกมอนที่พวกเขาและสาธารณชนโปรดปราน ทั้งในวิดีโอเกมและอนิเมะ[156] พูคูริน
พูคูริน (ญี่ปุ่น: プクリン; ทับศัพท์: Pukurin) หรือชื่อภาษาอังกฤษคือ วิกกลีทัฟฟ์ (อังกฤษ: Wigglytuff) โปเกมอนกระต่ายร้องเพลง เป็นโปเกมอนขนาดใหญ่ สีชมพู คล้ายลูกโป่ง มีหน้าท้องสีขาว ตาเหมือทารกสีฟ้าขนาดใหญ่ มีหูกระต่ายขนาดใหญ่ และปอยขนบนหน้าผาก พูคูรินพัฒนาร่างจากพูรินด้วยหินพระจันทร์ ความจริงแล้ว มันดูคล้ายกับร่างก่อนหน้า เว้นแต่มีหูขนาดใหญ่ขึ้นและมีรูปร่าง "วงรี" ตาของพูคูรินปกคลุมด้วยน้ำตาหลายชั้น เพื่อว่าถ้าฝุ่นเข้าตา น้ำตาจะชะล้างออก ในเกม ขนของพูคูรินถูกบรรยายว่า "เลอเลิศ" มากจนหากพูคูรินสองตัวมาใกล้ชิดกัน พวกมันจะแยกทางกันยาก ในเกมโปเกมอนมิสเตอรีดันเจียน: เอกซ์พลอเรอส์ออฟไทม์ และ เอกซ์พลอเรอส์ออฟดาร์กเนส พูคูรินเป็นหัวหน้ากลุ่มที่ตัวละครหลักเป็นสมาชิกอยู่ คอลัมน์โปเกมอนออฟเดอะเดย์กายของไอจีเอ็นเขียนว่าพูคูรินทั้ง "นุ่มและน่ากอด"[157] คอลัมน์โปเกมอนชิกของไอจีเอ็นเรียกพุคุรินว่า "โปเกมอนสีชมพูที่ว่องไว" และว่าขณะที่ความนิยมของพูรินนั้น "ยากที่จะเข้าใจ" เมื่อมันพัฒนาร่างเป็นพูคูริน มัน "มีแนวโน้มที่จะแอบเข้ากับพื้นหลังอย่างเงียบ ๆ" เธอเสริมว่ามัน "น่าสงสาร" เพราะ "กำลังพลตากลมนี่จริง ๆ แล้วค่อนข้างเจ๋งดี"[158] โทมัส อีสต์ จากนิตยสารออฟฟิเชียลนินเท็นโดแม็กกาซีน เขียนว่าชื่อของพุคุริน (Wigglytuff) น่าขบขัน และอาจเป็นหนึ่งในห้าชื่อโปเกมอนที่ดีที่สุดของเขา[159] แอชลีย์ เดวิส จากดิสทรักทอยด์เขียนว่า ร่างวิวัฒนาการที่น่ารักอย่างพูคูรินดูไม่มีประโยชน์เท่ากับโปเกมอนที่ดูแข็งแกร่งกว่า[160] นักเขียน โจเซฟ เจย์ โทบิน เขียนว่า พูคูรินเป็นที่นิยมในกลุ่มเด็กผู้หญิง[161] เอมิลี บาลิสเทรียรี จากนิตยสารเกมโปร เรียกตัวตนของพูคูรินในเกมภาคเอกซ์พลอเรอส์ออฟไทม์ และ เอกซ์พลอเรอส์ออฟดาร์กเนส ว่าเป็น "โปเกมอนที่แปลกสุด ๆ"[162] ซูแบท
ซูแบท (ญี่ปุ่น: ズバット; โรมาจิ: Zubatto) โปเกมอนค้างคาว เป็นโปเกมอนคล้ายค้างคาว สีฟ้า ขนาดเล็ก มีขายาวผอมสองขา ใบหน้าของซูแบทไม่มีตาและจมูก ในหูของซูแบทและข้าง ๆ ปีกของมันมีสีม่วง ปีกของซูแบตรองรับด้วย 'นิ้ว' ที่ยื่นออกมา และมองเห็นฟันสี่ซี่ในปากชัดเจน เป็นฟันบนสองซี่ และฟันล่างสองซี่ เพศเมียมีเขี้ยวขนาดเล็กกว่า ซูแบทอยู่ร่วมกันเป็นฝูงในถ้ำ และใช้คลื่นอัลตราโซนิกระบุและเข้าหาเป้าหมาย[163] คลื่นดังกล่าวเป็นเสมือนระโซนาร์ที่ใช้ตรวจหาวัตถุ[164] ในตอนกลางวัน มันจะรวมตัวกับตัวอื่น ๆ และห้อยหัวจากเพดานในที่มืด[165] เนื่องจากหากมันโดนแสงแดดจะทำให้ร่างกายของมันไหม้เป็นบางส่วน[166] เมื่ออาศัยในถ้ำมืด ตาของมันจะปิดและมองไม่เห็น[167] ตั้งแต่ซูแบทปรากฏตัวในซีรีส์โปเกมอน ซูแบทได้รับการตอบรับแบบคละกัน โปเกมอนชิกจากไอจีเอ็น เรียกสายวิวัฒนาการของซูแบทว่าเป็นโปเกมอนสองประเภทที่เธอชื่นชอบ[168] แจ็ก เดอวรีส์ คริสตีน สไตเมอร์ และนิก โนแลน จากไอจีเอ็น ตำหนิที่ซูแบทและอิชิซึบูเตะมีมากเกินไป ทำให้โปเกมอนในถ้ำขาดความหลากหลาย พวกเขาเสริมว่า นั่นเป็นเพราะว่าซูแบทที่ออกแบบง่ายนั่นสามารถหาโปเกมอนมาแทนได้ง่าย[169] สื่อหลายแหล่งเปรียบเทียบซูแบทกับวูแบต และถือว่าให้นำมาแทนกันได้[170][171][172][173][174][175] โกลแบต
โกลแบท (ญี่ปุ่น: ゴルバット; โรมาจิ: Gorubatto) ร่างพัฒนาแล้วของซูแบท เป็นโปเกมอนดุร้ายที่ออกหากินในเวลากลางคืน โกลแบท ต่างจากซูแบท มันมีตา และปากใหญ่กว่ามาก มันอาศัยอยู่ในถ้ำส่วนที่มืด และจะตื่นตัวในเวลากลางคืน โดยเฉพาะเมื่อพระจันทร์เข้าข้างแรม[176] โกลแบทเป็นที่รู้จักในวงกว้างว่าชอบดูดเลือดสดของสิ่งมีชีวิต เมื่อมันพบเหยื่อมีชีวิตอยู่ มันจะซุ่มโจมตี มักจะโจมตีจากด้านหลังโดยไม่เตือนใด ๆ[177] มันจะกัดเหยื่อด้วยเขี้ยวแหลมคมสี่เขี้ยว แข็งแกร่งพอที่จะเจาะหนังของโปเกมอนสัตว์ทุกชนิด แม้ว่าหนังจะแข็งแรงเพียงใด[178] มันจะดื่มเลือด 10 ออนซ์ให้หมดในทันที[179] โกลแบทชอบเลือดมากจนมันอาจไม่ควบคุมการกิน เมื่อมันกินเลือดมากเกินไปจนน้ำหนักเกิน มันจะบินอย่างงุ่มง่าม[179] เมื่อมันโจมตี มันจะไม่หยุดดูดพลังจากเหยื่อแม้ว่ามันจะตัวหนักเกินที่จะบินได้[180] เขี้ยวของโกลแบทตัวเมียจะเล็กกว่าตัวผู้ เช่นเดียวกับซูแบท โปเกมอนชิกของไอจีเอ็นเขียนว่า โกลแบท "น่าเกลียดอย่างไม่น่าให้อภัย" ในภาคเรดและบลู แต่ก็มีคนชื่นชอบ[168] ต่อมาเธอใช้โกลแบทเป็นตัวอย่างของโปเกมอนกลางสายวิวัฒนาการที่น่าเกลียด[181] อีริก โฮล์ม จากหนังสือพิมพ์นิวส์เดย์ เรียกมันเป็นตัวละครยอดนิยมของโปเกมอน[182] จิม สเตอร์ลิง จากดิสทรักทอยด์ เรียกโกลแบตว่า "ตลกอย่างสิ้นเชิง" และมัน "ดูไม่เหมาะที่จะเป็นค้างคาว" เขาเสริมว่า เขาไม่ได้ชอบซูแบทหรือโกลแบท "จากมุมมองศิลปะ หรือมุมมองของระบบเกม"[183] นาโซโนะคุสะ
นาโซโนะคุสะ (ญี่ปุ่น: ナゾノクサ; ทับศัพท์: Nazonokusa) หรือชื่อภาษาอังกฤษคือ ออดดิช (อังกฤษ: Oddish) เป็นโปเกมอนคล้ายวัชพืชที่ดูเหมือนหัวไชเท้ารูปร่างกลม ร่างกายมีสีน้ำเงินหรือม่วง มีขาเล็ก ๆ สองขาและตาสีแดง บนหัวมีกลุ่มใบไม้แหลม 5 ใบ นาโซโนะคุสะเป็นโปเกมอนที่ออกหากินตอนกลางคืน สังเคราะห์แสงโดยใช้แสงจันทร์แทนแสงอาทิตย์ ในตอนกลางวัน นาโซโนะคุสะหนีความร้อนและความสว่างจากดวงอาทิตย์โดยมุดตัวลงดิน โผล่ไว้เพียงใบไม้บนหัว มันใช้วิธีนี้ปลอมตัวเป็นต้นพืชต้นหนึ่ง ล่อนักล่าเหยื่อกินพืชตอนกลางวันให้ไปทางอื่น ในตอนกลางคืน มันจะวิ่งวนไปมาและหว่าน "เมล็ดพันธุ์" เมื่อถูกฝังดิน นาโซโนะคุสะจะบำรุงตนเองโดยดูดซึมสารอาหารจากดินโดยใช้เท้า ซึ่งกล่าวกันว่าจะเปลี่ยนเป็นรากชั่วคราวเพื่อวัตถุประสงค์นี้โดยเฉพาะ เป็นที่รู้กันว่านาโซโนะคุสะใช้ใบไม้เป็นมือ เช่น บางตัวใช้ใบไม้ไต่เชือกตาข่ายและพยายามบินให้เหมือนฮาเน็กโกะ ถ้าใครก็ตามดึงใบไม้ของนาโซโนะคุสะและพยายามถอนมัน นาโซโนะคุสะจะโต้ตอบโดยกรีดร้องเสียงแหลมสูง นี่แสดงให้เห็นพฤติกรรมของต้นแมนเดรกในตำนานในสถานการณ์คล้ายกัน แม้ว่าดูเหมือนว่าเสียงของนาโซโนะคุสะจะไม่มีผลสืบเนื่องเลวร้ายเหมือนกับเสียงของแมนเดรก คุไซฮานะ
คุไซฮานะ (ญี่ปุ่น: クサイハナ; ทับศัพท์: Kusaihana) หรือชื่อภาษาอังกฤษคือ กลูม (อังกฤษ: Gloom) โปเกมอนเหมือนดอกไม้ มีขนาดใหญ่กว่าและแข็งแรงกว่านาโซโนะคุสะ คุไซฮานะพบได้ในบริเวณหญ้าในภูมิภาคส่วนใหญ่ ของเหลวที่พ่นออกมาจากปากนั้นไม่ใช่น้ำลาย แต่เป็นน้ำต้อยที่ใช้ล่อเหยื่อ เมื่อเหยื่อหลงใหลกับน้ำต้อย น้ำต้อยจะตัวติดกับเหยื่อ น้ำต้อยมักจะล่อเหยื่อที่ไม่มีประสาทดมกลิ่น เนื่องจากน้ำต้อยมีกลิ่นเหม็นมากจนเหยื่อที่ดมมันจะสูญเสียความทรงจำ นอกจากน้ำต้อยแล้ว เกสรตัวเมียในดอกไม้ของคุไซฮานะกลิ่นเหม็นอย่างเหลือเชื่อ มักถูกบรรยายว่าเป็นกลิ่นรองเท้ากีฬา ขยะ และไข่เน่าเหม็นเหมือนสกังก์ และแรงพอที่จะได้กลิ่นจากระยะไกลเป็นไมล์ พบว่า 1 ใน 1,000 คนชอบกลิ่นที่คุไซฮานะปล่อยออกมา คนที่ไม่ชอบกลิ่นจะหมดสติทันทีที่ได้กลิ่น เมื่อคุไซฮานะประสบอันตราย กลิ่นเหม็นจะเหม็นยิ่งขึ้น ถ้ามันรู้สึกใจเย็นหรือปลอดภัย มันจะไม่ปล่อยกลิ่นเหม็นเช่นนี้ออกมา กล่าวกันว่ามันจะร่ายท่าโจมตีเช่น ละอองเหน็บชา ละอองพิษ และละอองหลับใหล จะทำให้ศัตรูเกิดสถานะผิดปกติ คุไซฮานะมีร่างพัฒนาสองร่าง (ตั้งแต่เจเนอเรชันที่สองเป็นต้นไป) ได้แก่ รัฟเฟรเซีย และคิเรฮานะ คุไซฮานะจะไม่พัฒนาร่างด้วยการเพิ่มเลเวลเหมือนตัวอื่น ๆ แต่มันจะพัฒนาเมื่อโดนหินวิวัฒนาการ นั่นคือ หินใบไม้ จะทำให้เป็นรัฟเฟรเซีย และหินพระอาทิตย์จะทำให้เป็นคิเรฮานะ รัฟเฟรเซีย
รัฟเฟรเซีย (ญี่ปุ่น: ラフレシア; โรมาจิ: Rafureshia; ทับศัพท์: Ruffresia) หรือชื่อภาษาอังกฤษคือ ไวเลพลูม (อังกฤษ: Vileplume) เป็นโปเกมอนเหมือนดอกไม้ขนาดใหญ่ที่มีขนาดใหญ่กว่าและแข็งแกร่งกว่าคุไซฮานะ รัฟเฟรเซียได้มาจากการใช้หินใบไม้กับคุไซฺฮานะ รัฟเฟรเซียมีกลิ่นเหม็นมาจากดอกไม้สีแดงขนาดใหญ่ รัฟเฟรเซียใช้กลิ่นเหม็นต่อสู้ โดยทำให้ศัตรูเสียการควบคุมตอนที่มันถอยหนีกลิ่นเหม็น อย่างไรก็ตาม ดอกไม้ของรัฟเฟรเซียสามารถเป็นอุปสรรคในการต่อสู้ได้เนื่องจากมันหนักและเทอะทะ ด้วยน้ำหนักของมัน ทำให้รัฟเฟรเซียเดินช้ามาก และมักใช้มือประคองดอกไม้บ่อย ๆ รัฟเฟรเซียพบได้ในป่าและชอบลดตัวลงติดพื้น เมื่อพวกมันหลับ กลีบดอกไม้ขนาดใหญ่จะเหี่ยวและพรางตัวกับต้นพืชรอบ ๆ พวกมันยังปล่อยละอองเรณูพิษหนาแน่นสู่อากาศที่ตรงนั้นเพื่อไม่ให้สัตว์เข้าใกล้มัน ในตอนกลางคืน บางครั้งพวกมันจะรวมตัวกันแสดงพิธีกรรมแปลก ๆ โดยมันจะปล่อยละอองเรณูพิษเพื่อป้องกันผู้บุกรุก แต้มสีขาวบนดอกไม้ของรัฟเฟรเซียตัวเมียจะใหญ่กว่าตัวผู้ ตั้งแต่รัฟเฟรเซียปรากฏในซีรีส์โปเกมอน สายวิวัฒนาการของนาโซโนะคุสะได้รับการตอบรับด้านบวก พบพวกมันในสินค้าหลายรูปแบบ เช่น หุ่น ตุ๊กตากำมะหยี่ และโปเกมอนเทรดดิงการ์ดเกม รัฟเฟรเซียยังปรากฏในรูปพวงกุญแจในโปรโมชันหนึ่งของเบอร์เกอร์คิงด้วย[184] การ์ดรัฟเฟรเซียรุ่นแรกมีราคาถึง 75 ดอลลาร์สหรัฐ[185] การ์ดรัฟเฟรเซียใบหนึ่งวางจำหน่ายโดยมีความผิดพลาดด้านการพิมพ์[186] พารัส
พารัส (ญี่ปุ่น: パラス; โรมาจิ: Parasu) เป็นโปเกมอนคล้ายปรสิตมีเห็ดสองตัวอยู่บนหลัง พบได้ในถ้ำและซาฟารีโซนในภูมิภาคคันโต และในป่าอุบะเมะ (Ilex Forest) และการประกวดจับโปเกมอนแมลงในภูมิภาคโจโต พารัสเกิดมาโดยมีสปอร์เล็ก ๆ สองหน่อปกคลุมร่างกาย ซึ่งเติบโตเป็นเห็ดถั่งเช่าให้โปเกมอนกิน มีข้อมูลว่าความสัมพันธ์ระหว่างพารัสและเห็ดเป็นความสัมพันธ์แบบภาวะอยู่ร่วมกัน เห็ดจะดูดพลังงานจากพารัส ทำให้พารัสมุดตัวลงใต้ดินในป่าตลอดเวลาเพื่อแทะราก เนื่องจากเห็ดถั่งเช่าจะดูดพลังงานได้จากราก ในทางกลับกัน เห็ดจะป้องกันพารัสโดยพ่นสปอร์พิษไปยังศัตรู เห็ดสามารถเยียวยาตนเองได้ และมีไว้ยืดอายุของตน พาราเซ็คท์
พาราเซ็คท์ (ญี่ปุ่น: パラセクト; โรมาจิ: Parasekuto) เป็นร่างพัฒนาของพารัสที่ใหญ่ขึ้นและแข็งแกร่งขึ้น มีเห็ดขนาดใหญ่บนหลัง เห็ดใช้พื้นที่บนตัวแมลงเกือบทั้งหมด พาราเซ็คท์อาศัยอยู่ในที่มืดและชื้น ซึ่งเป็นสถานที่ที่เห็ดชอบ ไม่ใช่ตัวแมลง เห็ดมีคุณสมบัติทางยามากมาย พาราเซ็คท์ได้มาเมื่อพารัสถึงเลเวล 24 พาราเซ็คท์พบได้ในถ้ำฮะนะดะและซาฟารีโซนในภูมิภาคคันโต และภูเขาชิโระงะเนะ ในภาคคริสตัล ชื่อภาษาญี่ปุ่นและภาษาอังกฤษเป็นการเล่นคำภาษาอังฤษ "parasite" และ "insect" มีความเกี่ยวข้องกับเห็ดบนหลัง พาราเซ็กต์เป็นที่อยู่อาศัยของเห็ด ที่ตรงนั้น เห็ดมีสปอร์ที่ทำให้ศัตรูที่สัมผัสโดนรู้สึกเหน็บชาได้ ไอจีเอ็น จัดให้พาราเซ็คท์เป็นโปเกมอนแมลงที่ดีที่สุดตัวหนึ่ง ร่วมกับสไตรค์ โดยพวกเขายกย่องความสามารถในการเปลี่ยนแปลงสถานภาพ พวกเขาบ่นเกี่ยวกับท่าโจมตีประเภทแมลงที่แทบจะไม่มี หากไม่นับท่าดูดเลือด (Leech Life)[187] คองปัง
คองปัง (ญี่ปุ่น: コンパン; โรมาจิ: Konpan) หรือชื่อภาษาอังกฤษคือ เวโนนัท (อังกฤษ: Venonat) มีพิษไหลซึมออกจากทั่วร่างกาย พอตกค่ำจะไปจับโปเกมอนแมลงตัวเล็ก ๆ ที่มารวมตัวกันตามแสงไฟ[188] ดวงตาทำหน้าที่เป็นเรดาร์เลยเคลื่อนไหวในความมืดได้ สามารถยิงลำแสงจากตาได้[188] มอร์ฟอน
มอร์ฟอน (ญี่ปุ่น: モルフォン; โรมาจิ: Morufon) หรือชื่อภาษาอังกฤษคือ เวโนมอด (อังกฤษ: Venomoth) มีเกล็ดติดอยู่บนปีก และทุกครั้งที่กระพือปีกจะโปรยผงพิษรุนแรงไปทั่ว[189] ตอนต่อสู้จะกระพือปีกขนาดใหญ่อย่างรุนแรงเพื่อโปรยผงพิษ[189] ดิกดา
ดิกดา (ญี่ปุ่น: ディグダ; โรมาจิ: Diguda) หรือชื่อภาษาอังกฤษคือ ดิกเลตต์ (อังกฤษ: Diglett) ขุดโพรงในดินลึกประมาณ 1 เมตร ใช้ชีวิตโดยการกัดกินรากไม้ นาน ๆ ทีจะโผล่ขึ้นมาเหนือดิน[190] ผิวหนังบางมาก หากโดนแสงเข้าเลือดจะอุ่นขึ้นและอ่อนแอลง[190] ดักทริโอ
ดักทริโอ (ญี่ปุ่น: ダグトリオ; โรมาจิ: Dagutorio) ทั้ง 3 หัวจะสลับกันเคลื่อนไหวเพื่อให้ดินรอบ ๆ นิ่มลงและขุดง่ายขึ้น[191] ขุดแล้วเคลื่อนไหวไปมาอยู่ใต้ดินและโจมตีฝ่ายตรงข้ามที่กำลังเผลอจากจุดอื่น[191] อ้างอิง
Information related to รายชื่อโปเกมอน (1–51) |
Portal di Ensiklopedia Dunia